สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
วัดอาจาโรรังสี
บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐
โทร. ๐-๔๒๙๘-๑๐๘๗

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ดับขันธ์วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย
พุทธศักราช ๒๕๓๗

       

หลวงพ่อพระพุทธสัมฤทธิ์พิชิตมาร

อาคารพิพิธภัณฑ์ ๑๐๐ ปี

ประวัติหลวงปู่เทศก์

ธรรมเทศนาของ หลวงปู่เทศก์

จดหมายจากสมเด็จพระสังฆราชกับหลวงปู่เทสก์

หลวงพ่อพระพุทธสัมฤทธิ์พิชิตมาร

อาคารพิพิธภัณฑ์ ๑๐๐ ปี

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ห้องภาวนาธรรม

สมเด็จพระสังฆราชกับหลวงปู่เทสก์

           
              สนทนาธรรมกับลูกศิษย์
      โดย พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร
                วัดอาจาโรรังสี
            
          
       
                

 


เกียรติบัตรประกาศเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔

 

พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร
รับพัด สธจ.ดีเด่น
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔




พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร
รับพัด สธจ.ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
( สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ )
ซึ่งรับ ณ วัดพิชยญาติการาม
เมื่อ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔





พระอธิการทรงวุฒิ  ธฺมมวโร  
ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริม
การปฏิบติธรรม
ณ พลับพลามณฑลพิธี
ท้องสนามหลวง 
วันที่  ๑๘  พฤษภาคม  ๒๕๕๖

 


 

แจ้งข่าวการกุศล
เรื่องการก่อสร้างกำแพงวัด
ตั้งแต่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๖

บันทึกเล่าเรื่อง...เที่ยวเมืองพม่า
โดย พระอธิการทรงวุฒิ  ธมฺมวโร
วัดอาจาโรรังสี

 เมื่อข้าพเจ้าไปเฝ้าสมเด็จพ่อ
ครั้งที่ ๔

โดย พระอธิการทรงวุฒิ  ธมฺมวโร
วัดอาจาโรรังสี

                 
       
         
      
            
 

 

ศาลาธรรมานุสรณ์ ๙ รอบนักษัตร  (๑๐๘ปี)
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  (๒๖  เมษายน  ๒๕๕๓)

     เมื่อมารำลึกถึง... 
พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ 
(หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี)  ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย  ในระหว่างที่ยังดำรงขันธ์อยู่นั้นท่านได้ยึดมั่นปฏิบัติสมณกิจตาม
พระธรรมวินัย  เป็นแบบอย่างอันงดงามแก่ภิกษุสามเณรผู้บวชอุทิศพระพุทธศาสนาสมควรที่จะดำเนินรอยตาม  ทั้งยังได้บำเพ็ญสมณกิจอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่ตนและสาธารณนัยตลอดอายุขัย จวบจนกระทั่งละรูปสังขารคืนสู่สภาวะของธรรมชาติเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ตรงกับวันเสาร์ที่  ๑๗  ธันวาคม  พุทธศักราช  ๒๕๓๗   หากคำนวณนับปีตั้งแต่ชาตกาลเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖  เมษายน  พุทธศักราช ๒๔๔๕  ปีขาล ก็จะครบ ๙ รอบนักษัตร ( ๑๐๘ ปี )  ในวันที่  ๒๖  เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ ปีขาล และแม้ว่าท่านจะจากโลกนี้ไปแล้ว   อมฤตธรรมคำสอนของท่านก็ยังคงเป็นสักขีพยานยืนยันอริยสัจธรรมของพระบรมศาสดา  เชื้อเชิญทายท้าให้ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสน้อมนำไปปฏิบัติ 
ได้ตลอดกาลทุกเมื่อ   อันบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากท่าน  ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ย่อมประจักษ์ด้วยตนเอง  น้อยหรือมากตามแต่อุปนิสัยวาสนาบารมีแห่งเหตุปัจจัยของตนๆ  อันชวนให้รำลึกถึงพระคุณของท่านเสมออยู่มิรู้ลืม

            อีกประการหนึ่งเล่า  พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระราชญาณมุนีที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร    (ธ.)   เมื่อครั้งท่านยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร    (ธ.)   เห็นว่าวัดอาจาโรรังสีมีความพร้อมและเหมาะสมที่จะเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด     ท่านจึงมีเมตตาสนับสนุนส่งเสริม   จนกระทั่งมหาเถรสมาคมได้มีมติที่  ๒๑๖/๒๕๕๑  ให้วัดอาจาโรรังสี  เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสกลนคร (ธ.) แห่งที่ ๒ (การประชุมเมื่อวันที่  ๒๑  เมษายน  ๒๕๕๑ )  เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐและเอกชน  ตลอดจนโรงเรียนและสถานศึกษานำบุคลากร  เยาวชน  นักเรียนนักศึกษามาใช้สถานที่นี้อบรมคุณธรรมจริยธรรม  และปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ทั้งจำนวนรุ่นและจำนวนคนในแต่ละรุ่น  ทำให้อาคารสถานที่ที่มีอยู่เดิมนั้นขาดความคล่องตัวในการรับรองกิจกรรมดังกล่าว

            ด้วยมูลเหตุทั้งสองประการดังกล่าวนั้น  จึงได้ปรารภหารือกับผู้ใกล้ชิด  ประธานกรรมการบริหารวัดและคณะกรรมการวัด   ก็มีความเห็นเป็นสมานฉันท์ตรงกันว่า   สมควรจะสร้างศาลาขึ้นใหม่สักหลังหนึ่ง  เพื่อเป็นถาวรวัตถากตเวทิตานุสรณ์แด่พระเดชพระคุณท่านหลวงปู่ผู้มีพระคุณของศิษยานุศิษย์   ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อการประกอบศาสนกิจดังกล่าว  และประการที่สำคัญ    คณะญาติโยมผู้มีจิตใจเลื่อมใสศรัทธาก็ยินดีเต็มใจสนับสนุนทุนทรัพย์เพื่อการนี้ด้วย

           จึงว่าจ้าง นายจักรพงษ์  สุธรรมคุณ  ให้เป็นผู้เขียนแบบ  รวมทั้งควบคุมงานก่อสร้างฐานรากและโครงสร้างในเบื้องต้น  เริ่มต้นก่อสร้างด้วยการตอกเสาเข็มเมื่อวันที่  ๙  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒  ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันเสาร์  ที่  ๒๕  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๕๒  โดยมีพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระราชญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ.) เป็นประธาน
 


           รูปทรงเป็นอาคารทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็ก สองชั้น  ขนาดกว้าง  ๑๖.๖ เมตร  ยาว ๓๗.๘  เมตร  มีระเบียงรอบทั้งสองชั้น  งานปั้นปูนหน้าบัน  ปั้นลม   เชิงชาย และชายน้ำ ทับหลังสันตะเข้   ตลอดจนปูนปั้นบัวหัวเสา  (ทั้งภายนอกและ
ภายใน)  ทั้งหมดนั้น  เป็นศิลปกรรมไทยภาคกลาง  โดยมีคุณธนัญชัย (ช่างนะ) คงถึง   จากจังหวัดสุโขทัย   เป็นหัวหน้านำทีมงานมาดำเนินการฝากฝีไม้ลายมือไว้ให้ดังปรากฏเห็น

           ชั้นบนประดิษฐานพระประธาน พระพุทธสัมฤทธิ์พิชิตมาร พระพุทธรูปปางมารวิชัย   พุทธศิลป์เชียงแสนสิงห์   ๓   หล่อด้วยโลหะทองเหลืองปิดทองคำเปลว  ขนาดหน้าตักกว้าง  ๖๙  นิ้ว    โดยจำลองแบบมาจากหลวงพ่อสำฤทธิ์ พระพุทธรูปประจำวัดอมฤตสิทธาราม ตำบลอมฤต อำเภอผักไห่  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมจิตใจ
ของพุทธศาสนิกชนชาวตำบลอมฤตมาแต่บรรพกาล  ได้ทำพิธีเททอง  ณ  วัดอาจาโรรังสี   เมื่อวันอาทิตย์ที่  ๒  พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

          ท่านเจ้าพระคุณ   สมเด็จพระญาณสังวร   สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก  ทรงพระเมตตาโปรดประทานพระบรมสารีริกธาตุเพื่อบรรจุภายในพระเกตุมาลา   และได้ประกอบพิธีบรรจุในวันมาฆบูชาที่  ๑๖  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๔   พระประธานองค์นี้ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีไม้ ตั้งอยู่บนเรือมาดขุดด้วยไม้ตะเคียนทอง เป็นเรือบรรพบุรุษ ของ กำนันเกษม  อากาศวิภาต  อดีตกำนันตำบลผักไห่  เมื่อสืบถามประวัตินับเฉพาะอายุเรือลำนี้ได้ประมาณ  ๑๐๐ ปี  แต่ไม้ตะเคียนทองกว่าจะเจริญเติบโตใหญ่มาจนขุดเรือลำนี้ได้นั้นมิอาจสามารถที่จะคำนวณนับอายุได้  ซึ่งกำนันเกษมมีศรัทธานำใส่รถบรรทุกสิบล้อจากอำเภอผักไห่  จ. พระนครศรีอยุธยาส่งมาถวายถึงวัดอาจาโรรังสี  จ. สกลนคร

ผนังภายในศาลาชั้นบนนั้นใช้ไม้ตะแบกประดิษฐ์เป็นฝาเรือนไทยลายปะกนทั้งสามด้าน  ติดตั้งบานประตูไม้สักลายลูกฟัก   บานหน้าต่างไม้สัก
ประเภทบานกระทุ้ง  ผลงานฝีมือของ  หจก.  ประทินผลิตภัณฑ์  อ.  บางปะหันจ.  พระนครศรีอยุธยา     โดยคุณประทิน  (บิดา)   และคุณสุภัทรชัย   (บุตร) ทองประเทือง    ซึ่งนอกจากจะฝากผลงานดังกล่าวนี้ไว้ให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ชื่นชมศิลปหัตถกรรมเรือนไทยอย่างแท้จริงแล้ว   ยังมีกุศลศรัทธาถวายจั่วและปั้นลมสร้างศาลาทรงไทยตรงพักบันไดหน้าศาลา  (ทิศตะวันออก)ไว้ในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่วัดอาจาโรรังสีอีกด้วย

          ฝาผนังด้านหลังพระประธานนั้นเป็นภาพจิตรกรรมไทยเกี่ยวกับ
พระโพธิสัตว์ชาดก    ชุดพระเจ้าสิบชาติ   เรื่องพระมหาชนก  บรรจงระบายแต้มแต่งด้วยสีน้ำอะครีลิค   ด้านหลังพระประธาน  (ห้องกลาง)   เป็นภาพตอนพระมหาชนกผจญภัยกลางท้องทะเลหลวง  และมณีเมขลาเทพธิดาเข้ามาช่วยนำไปส่งยังเมืองมิถิลา   ห้องซ้ายมือพระประธานเป็นภาพตอนพระมหาชนกประพาสอุทยานแล้วเกิดความสลดสังเวชที่บริวารพากันทำลายต้นมะม่วงรสดีทั้งมีผลดก   จึงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติออกผนวช  ห้องด้านขวามือพระประธานเขียนภาพประวัติของหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี    เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่ควรกล่าวถึง  ๔  ตอน  คือ  ตอนที่ ๑ ในวัยเด็กเทื่ออายุได้ ๑๖ ปี พระอาจารย์สิงห์  ขนฺตยาคโม   ได้เดินรุกมูลมายังบ้านนาสีดา  ท่านจึงได้ลาพ่อแม่ญาติพี่น้องออกเดินธุดงค์ติดตามพบพระอาจารย์สิงห์   ไปบรรพชาอุปสมบท   ที่จังหวัดอุบลราชธานี   ตอนที่ ๒  หลังจากอุปสมบทแล้ว  ได้เดินธุดงค์มาพบพระอาจารย์หลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล   และหลวงปู่มั่น   ภูริทตฺโตพร้อมกันทั้งสององค์   ที่บ้านนาช้างน้ำ  อ. ท่าบ่อ  จ. หนองคาย  ตอนที่  ๓

หลวงพ่อพระพุทธสัมฤทธิ์พิชิตมาร

เป็นภาพเหตุการณ์ตอนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ  ทรงถวายสักการะและสนทนาธรรมและตอนสุดท้ายเป็นภาพตอนมรณภาพ  ณ  วัดถ้ำขาม  เทือกเขาภูพาน  จ. สกลนคร  (งานจิตกรรมฝาผนังดังกล่าวคงไม่เสร็จสมบูรณ์ทันการฉลอง)   ส่วนคานคอนกรีตเหนือบัวหัวเสานั้นเป็นผลงานประดิษฐ์จิตรกรรมประเภทลงรักปิดทอง
ลายฉลุ   สำหรับการปิดทองคำเปลวพระพุทธสัมฤทธิ์พิชิตมาร  และบัวหัวเสาตลอดทั้งการปิดทองล่องชาดประดับกระจกดวงดาวเพดานทั้งหมดนั้นเป็นผลงานของคุณจักรวาล (จุลนพ)  นาคแก้ว  ซึ่งมีความมักคุ้นและเคยได้ร่วมงานกันมาเกือบ  ๒๐  ปีแล้ว

           เสาคอนกรีตภายในอาคารชั้นบนทั้งหมดหุ้มด้วยไม้สัก   ขอบบานหน้าต่างชั้นบนและขอบบานประตูชั้นล่างทั้งหมดกรุด้วยไม้สักเช่นเดียวกัน(ร้านแดงแหนมเนืองหนองคาย  ถวาย) ส่วนอาสน์สงฆ์ด้านหน้าพระประธานประดิษฐ์ด้วยไม้สัตตบรรณ  (คุณจำปาเทศ  จิกจักร  ถวาย)  งานไม้ดังกล่าวนั้นคุณสุชน  โลกิตสถาพร   เป็นผู้หาช่างมาดำเนินการพร้อมกับทั้งมีศรัทธา
เป็นเจ้าภาพค่าแรงช่างเพื่อถวายเป็นถาวรวัตถุทานแก่วัดอาจาโรรังสี

          หลังคามุงด้วยกระเบื้องเอ็กเซลลา  สีแดงแซฟไฟล์  ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย   ส่วนเพดานนั้นได้นำไม้ฝาตราช้าง  ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยมาสร้างสรรค์ประดิษฐ์ตามแนวนิยมของช่างไทยแต่โบราณ  ทั้งสองรายการได้รับความอนุเคราะห์จากคุณสมเกียรติ  ปานพูนทรัพย์  เป็นธุระติดต่อประสานงานกับผู้บริหารของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย  จึงสั่งซื้อได้ในราคาพิเศษ
อย่างมาก   ทั้งยังชักชวนญาติมิตรผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญอีกด้วยราวลูกกรงโดยรอบทั้งสองชั้นเป็นวัสดุสแตนเลส  มีคุณสุวรรณ   อุ่นสาร้านรุ่งเรืองดีไซน์  จ.สกลนคร  เป็นช่างผู้รับผิดชอบดำเนินการอย่างเป็นกันเองทั้งยังช่วยเหลือดูแลงานส่วนอื่นที่เห็นว่าบกพร่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย
 


           พื้นอาคารชั้นบนปูด้วยหินแกรนิต   ชั้นล่างปูด้วยแกรนิตโต  โดยทีมงานของคุณเฉลิม   อุ่นเรือน    ซึ่งเคยร่วมงานกันมาแต่ครั้งสร้างเทสกเจดีย์  เทสรังสีอนุสรณ์   วัดถ้ำขาม  ปัจจุบันเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่  ๑๒  ต.ปากช่อง  อ.จอมบึง จ.ราชบุรี   อุตสาหะวิริยะสละเวลามาฝากผลงานไว้ให้เป็นที่ประจักษ์

           โคมไฟเพดานทั้ง  ๕  ชุด   อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดตลอดจนพัดลมมีคุณโยม นพ.ไพโรจน์ – พญ. จุรี  นิงสานนท์  ร่วมด้วย  คุณสุพจน์ – คุณอรุณี พจนาวราพันธ์     พร้อมญาติมิตรมีจิตศรัทธาหามาถวายให้ทั้งหมด  ส่วนไฟ กิ่งภายในชั้นบนนั้นคุณปราณี  ธรรมสวยดี  เป็นเจ้าภาพนำมาถวาย   การติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมด   คุณจักริน  จิกจักร    รับอาสาเป็นผู้ดำเนินการ  โดยใช้เวลาวันหยุดราชการมาทำงาน   ด้วยเหตุที่มีจิตใจเลื่อมใสศรัทธาที่อุทิศ ถวายแรงกายเพื่อร่วมสร้างศาลาหลังนี้ด้วย 
จึงไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

           สำหรับพื้นที่ชั้นล่างของอาคาร  ด้านทิศตะวันตกจัดเป็นห้องรับรองพระเถระ   ห้องโถงใหญ่จักใช้เป็นสถานที่อบรมคุณธรรมจริยธรรม   ซึ่งคุณสมชาย – คุณอัญชลี   ตวงทวีทรัพย์   พร้อมด้วยครอบครัวมีศรัทธาจัดเครื่องมือสื่อสารรวมทั้งอุปกรณ์การอบรมมาถวาย อาทิจอฉายภาพขนาดใหญ่โปรเจคเตอร์   และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค  เป็นต้น   นอกจากนี้   ทั้งสองท่าน  พร้อมด้วยครอบครัวยังมีศรัทธาสนับสนุนทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง  และยังร่วมด้วยญาติพี่น้องรับเป็นเจ้าภาพงานตกแต่งภายในหลายรายการด้วยกัน (ดังรายนามปรากฏในภาคผนวก)   ส่วนบานประตูหน้าต่างนั้นใช้วัสดุกระจกอะลูมิเนียม  ซึ่งมี  คุณสุรศักดิ์  ทรงหาคำ  (ช่างตั๋ง)  เป็นผู้ดำเนินการ

           งานตกแต่งภูมิทัศน์โดยรอบ  โดยเฉพาะงานประดิษฐ์น้ำตกจำลองหน้าศาลานั้น  เป็นศรัทธาของสวนพรรณไม้กนิษฐา  โดยคุณชูมิตร  เจริญชัยเจ้าของสวนนำลูกน้องมาดำเนินการให้ด้วยตนเอง    จัดหาต้นไม้ทั้งใหญ่และเล็กมาปลูกให้จนสำเร็จเรียบร้อยสวยงามดังปรากฏ  โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆอุปกรณ์บางสิ่งและต้นไม้บางส่วนที่ทางวัดจัดหาเองนั้นเป็นจำนวนน้อยมากสำหรับต้นโมกขนาดใหญ่ที่ปลูกโดยรอบศาลา   ตลอดทั้งต้นโมกขนาดใหญ่ที่ปลูกภายในบริเวณวัดทั้งหมด   รวมทั้งต้นอโศกด้านทิศใต้   และต้นพิกุลด้านทิศเหนือของศาลา  ทั้งต้นหมากเหลือง  หมากแดง  และมะพร้าวแคระนั้น คุณวิรัตน์  กลิ่นจันทร์กลั่น   เจ้าของสวนไม้ชานเมือง  กรุงเทพฯ  เป็นผู้ถวายให้แก่ทางวัด  โดยมีคุณกิตติ  รุ่งเรืองระยับกุล  เจ้าของและผู้จัดการอู่เคซีวอลโว่  บริการ สุขุมวิท  กรุงเทพฯ  เป็นผู้ขนส่งให้  สำหรับไม้กลายเป็น หินที่ประดับน้ำตกนั้น จ.ส.อ สุริยันต์  หมื่นจูม  จ.ส.ท กุศล  วงศ์พรหม  และ พ.จ.อ วิทยา  แก้วคำแจ้งเป็นผู้น้อมนำมาถวาย


           เหนือประตูหน้าศาลา  (ทิศตะวันออก)  ติดตั้งป้ายชื่อศาลาแกะด้วยไม้ ตะเคียนทอง ทาสีทองประดับกระจก ประตูใหญ่ (ตรงกลาง) จารึกข้อความธรรมานุสรณ์  ๙  รอบนักษัตร (๑๐๘ ปี)  หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓   ประตูเล็กด้านซ้ายมือและขวามือ  แกะรูปเสือสัญลักษณ์ปีขาล  พร้อมจารึกอักษรปีเกิด  และปีที่ครบ  ๙  รอบตามจันทรคติ  พร้อม ปี  พ.ศ. กำกับทั้งสองด้าน  ไม้ตะเคียนที่นำมาทำป้ายดังกล่าวทั้ง  ๓  แผ่นนั้น  จ.ส.อ  สุริยันต์ หมื่นจูม  และ  จ.ส.ท  กุศล  วงศ์พรหม  มีศรัทธานำมาถวาย  และคุณศตภัทรสหัชพงษ์   เป็นผู้ติดต่อหาช่างมาแกะสลักป้ายดังกล่าวทั้งมีศรัทธาเป็นเจ้าภาพ
ค่าช่างให้ด้วย

          เมื่อศาลาการเปรียญใกล้ใกล้แล้วเสร็จ  จึงคิดสร้างถังน้ำคอนกรีต เสริมเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  ๓.๐  เมตร  สูง๖.๐  เมตร  ปริมาตรต่อถัง ๔๔,๐๐๐.๐๐  ลิตร   จำนวน  ๔  ถัง  (๑๗๖,๐๐๐ ลิตร)   เพื่อรองรับน้ำฝนจากศาลาในฤดูฝน   และเป็นที่เก็บกักน้ำบาดาลในฤดูแล้ง   ไว้สำหรับอุปโภค บริโภคภายในวัด   ก็มีคณะศรัทธาญาติโยมรับเป็นเจ้าภาพจนครบ
ทั้ง  ๔  ถัง

          อนึ่ง  ไม้ที่ใช้ตกแต่งอาคารทั้งหมด  (ยกเว้นไม้บานประตู  ไม้บาน  หน้าต่าง   และไม้ฝาปะกนผนังทั้งสามด้าน)  เป็นไม้ที่ร้านแดงแหนมเนือง จ. หนองคาย  โดยคุณวิภาดา  จิตนันทกุล (โยมพี่แดง)  ถวายให้ทั้งหมด  พร้อมมอบทุนประเดิมในการก่อสร้าง  จำนวน  ๕๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท  ทั้งระหว่าง ก่อสร้างได้สมทบยอดกฐินเพิ่มเติมอีก  ๓  ครั้ง   จำนวน  ๓๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท รวมทั้งสิ้น ๘๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท  และมีคณะศรัทธาญาติโยมจากทิศทั้งสี่ร่วม อนุโมทนาบุญสนับสนุนงานก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔  สิ้นทุนทรัพย์รวม  ๑๑,๕๙๑,๓๗๖.๙๖  บาท


             

     

สถิติวันนี้

 10 คน

สถิติทั้งหมด

154486 คน

เริ่มเมื่อ 2011-12-10


วัดอาจาโรรังสี บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐ โทร. ๐-๔๒๙๘-๑๐๘๗