สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
วัดอาจาโรรังสี
บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐
โทร. ๐-๔๒๙๘-๑๐๘๗

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ดับขันธ์วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย
พุทธศักราช ๒๕๓๗

       

หลวงพ่อพระพุทธสัมฤทธิ์พิชิตมาร

อาคารพิพิธภัณฑ์ ๑๐๐ ปี

ประวัติหลวงปู่เทศก์

ธรรมเทศนาของ หลวงปู่เทศก์

จดหมายจากสมเด็จพระสังฆราชกับหลวงปู่เทสก์

หลวงพ่อพระพุทธสัมฤทธิ์พิชิตมาร

อาคารพิพิธภัณฑ์ ๑๐๐ ปี

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ห้องภาวนาธรรม

สมเด็จพระสังฆราชกับหลวงปู่เทสก์

           
              สนทนาธรรมกับลูกศิษย์
      โดย พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร
                วัดอาจาโรรังสี
            
          
       
                

 


เกียรติบัตรประกาศเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔

 

พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร
รับพัด สธจ.ดีเด่น
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔




พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร
รับพัด สธจ.ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
( สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ )
ซึ่งรับ ณ วัดพิชยญาติการาม
เมื่อ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔





พระอธิการทรงวุฒิ  ธฺมมวโร  
ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริม
การปฏิบติธรรม
ณ พลับพลามณฑลพิธี
ท้องสนามหลวง 
วันที่  ๑๘  พฤษภาคม  ๒๕๕๖

 


 

แจ้งข่าวการกุศล
เรื่องการก่อสร้างกำแพงวัด
ตั้งแต่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๖

บันทึกเล่าเรื่อง...เที่ยวเมืองพม่า
โดย พระอธิการทรงวุฒิ  ธมฺมวโร
วัดอาจาโรรังสี

 เมื่อข้าพเจ้าไปเฝ้าสมเด็จพ่อ
ครั้งที่ ๔

โดย พระอธิการทรงวุฒิ  ธมฺมวโร
วัดอาจาโรรังสี

                 
       
         
      
            
 

 
อาคารพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ครบรอบ  ๑๐๐  ปี  หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  (๒๖  เมษายน  ๒๕๔๕)

พระบรมสารีริกธาตุ
และพระธาตุหลวงปู่เสก์

หลวงปู่เทสก์กับ
ครูบาอาจารย์

หลวงปู่เทสก์ กับ
สถาบันพระมหากษัตริย์

เอกสารใบตราตั้ง

             
             อนึ่ง เนื่องจากนามอันเป็นสิริมงคลที่สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  ทรงประทานให้ดังกล่าวมาแล้วนั้น  บรรดาศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ทั้งในเขตจังหวัดสกลนคร   และจังหวัดใกล้เคียง  ตลอดทั้งทางไกลถึงกรุงเทพฯ  และปักษ์ใต้
ต่างมาช่วยสนับสนุนทำนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนา  ณ  วัดอาจาโรรังสี  เป็นลำดับมา  พอมาถึง
กลางปี พ.ศ. ๒๕๔๓  บรรดากรรมการวัดและญาติโยมจึงหารือกันว่า ในวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๕
หากพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  ยังมีชีวิตอยู่  ท่านจะมีอายุครบ   ๑๐๐  ปีบริบูรณ์
              อนึ่ง  ท่านก็ได้บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและแก่ประเทศชาติไว้มากจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว  วัดอาจาโรรังสีน่าจะมีถาวรวัตถุเป็นสาราณียธรรมานุสรณ์ ถึงท่านสักอย่างหนึ่งกอรปกับในช่วงนั้น พ.ศ. ๒๕๔๓  หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๒๖ สกลนคร  ได้นำราชการทหารเจ้าหน้าที่  ลูกจ้าง  ตลอดจนเยาวชนมารับการอบรมธรรมะอย่างต่อเนื่อง  แต่สถานที่ที่เรามีอยู่  (ศาลาการเปรียญ)  ไม่สะดวกเพียงพอ  จึงได้ตกลงวางแผนที่จะสร้างอาคารทรงไทยคอนกรีต
เสริมเหล็ก สองชั้น ชั้นล่าง เป็นห้องโถงโล่ง  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การอบรมและปฏิบัติธรรม  ชั้นบนสำหรับจัดเป็นอนุสรณ์แก่พระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์   เทสรังสี   การก่อสร้างดังกล่าว
ไม่มีงบประมาณ (เพราะไม่มีงบจะประมาณ)  จึงไม่มีแบบแปลนใดๆ  เพียงแต่วางแผนผังโครงสร้างแล้วดำเนินการ  กะว่ามีทุนเท่าใดก็จะทำตามกำลังความสามารถเท่านั้น ให้สำเร็จประโยชน์ใช้สอยโดยมุ่งความแข็งแรงเป็นหลักเมื่อเริ่มดำเนินการก็มีศรัทธาสนับสนุน

               จึงได้ลงมือก่อสร้าง  เมื่อเดือน  กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓  ด้วยแผนผังขนาด 
กว้าง x ยาว =๑๐.๕๐ เมตร  x  ๒๓.๕๐  เมตร เป็นอาคารทรงไทย  คอนกรีตเสริมเหล็ก สองชั้น 
เมื่อเริ่มดำเนินการศุภนิมิตมงคลก็ปรากฏตามลำดับดังนี้
             - คุณเลี้ยง  วิศวธีรานนท์  บริจาคเหล็กเส้นที่ใช้ในโครงสร้าง
             - นางสาวบุญพร้อม  นพ.ไพโรจน์  พ.ญ. จุรี  นิงสานนท์ 
                บริจาคเงินสดเพื่อเป็นทุนก่อสร้าง จำนวน  ๒๐๐,๐๐๐  บาท
             - คุณแสวง  ศิริจันทโรภาส  พร้อมครอบครัว  บริจาคปูนซีเมนต์ ๒๐๐ ถุง
             - ราษฎรบ้านคำข่า  บ้านคำเจริญ  และหมู่บ้านใกล้เคียง  
                บริจาคไม้แบบที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมด
             - พ.ต. สนาน  ภิรมย์กุล  พร้อมด้วยราษฎรบ้านคำข่า  บ้านผักคำภู  บ้านคำเจริญ  
                บ้านดงมะไฟ  บริจาคไม้วงกบ  ไม้กรอบบานประตูหน้าต่าง

               เมื่อพุทธศาสนิกชน ญาติโยม มีกุศลศรัทธาให้การสนับสนุนดังนั้น การก่อสร้างโครงสร้าง
จึงดำเนินมาด้วยความราบรื่น จนถึงโครงหลังคาก็ได้รับฉลองศรัทธาจากคุณสมเกียรติ ปานพูนทรัพย์บริษัทปูนซิเมนต์ไทย  จำกัด  มหาชน  ได้เชิญชวนญาติมิตรพี่น้อง   จัดกระเบื้องมุงหลังคาเซรามิค  เอ็กซ์เซลลา  (Excella)  สีแดง  (Red Sapphire) มูลค่ารวม ๑๑๑,๙๙๐  บาท  และญาติโยมชาววัดอาจาโรรังสี   บริจาคสมทบอีก ๕๓,๐๗๐  บาท  รวม  ๑๖๕,๐๖๐  บาท   (รายนามผู้บริจาคทั้งหมด  ปรากฏอยู่ในภาคผนวก)
                 สำหรับฝ้าเพดานของอาคารชั้นบนทำด้วยไม้ฝาตราช้าง   ลายสักทอง   ตีซ้อนเหลื่อมกันตามแบบสถาปัตยกรรมไทยในอดีต  มูลค่าไม้ฝา  ๖๘๙  แผ่น   จำนวนเงิน  ๔๐,๐๐๐   บาทนั้น   เป็นศรัทธาของคุณสมเกียรติ   ปานพูนทรัพย์  และ  คุณอภิราม   โปษะกฤษณะ    สองท่านพร้อมใจกันแบ่งบุญคนละครึ่ง  ความงามของผลิตภัณฑ์  บริษัท  ปูนซิเมนต์ไทย (มหาชน)  จำกัด    ปรากฏแก่สายตาและเป็นที่ยอมรับของท่านทั้งหลายที่มาเยี่ยมชมวัดอาจาโรรังสี
                                                                                   
                  การดำเนินการดังกล่าวด้วยความอนุเคราะห์ของคุณคัณชิต  สุมะโน   เป็นผู้ประสานงานระหว่างวัดกับคุณสมเกียรติ  ปานพูนทรัพย์  บริษัท  ปูนซิเมนต์ไทย  (มหาชน)  จำกัด คำนึงถึงศิลปะวัฒนธรรมไทย

                   เมื่องานโครงสร้างดำเนินไปด้วยความราบรื่น   ด้วยศรัทธาของพุทธศาสนิกชนดังกล่าวมาแล้วนั้น   จึงมาคำนึงถึงงานตกแต่งที่ควรจะทำตามธรรมดาของรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย  
และด้วยงานก่อสร้างอาคารหลังนี้ไม่มีแบบแปลนแน่นอน  แต่เบื้องต้นจึงไม่ได้กำหนดไว้   
เมื่อเห็นว่างานได้ดำเนินมาพอที่ควรจะต้องพิจารณาถึงส่วนนี้ให้ต่อเนื่องกันไป    ด้วยคิดว่าพอจะมีกำลังทุนทรัพย์สามารถทำได้    จึงเริ่มเสาะแสวงหาช่างที่เห็นว่าควรจะมีความสามารถในงานปั้นปูนลวดลายก็ไปพบนายช่างทองประดิษฐ์  ยิ่งยง   ที่วัดป่าเลไลยก์  จ.สุพรรณบุรี  ได้ขอร้องให้มาช่วยทำงาน  ปั้น ปูนช่อฟ้าไทยแบบปากนก 
หางหงส์หัวนาค   ใบระกา   ลวดลายหน้าบันทั้งสองด้านปั้นปูนลายกนก ก้านขดใบเทศล้อมรอบพัดยศฝ่ายวิปัสสานาธุระชั้นราชที่ท่านหลวงปู่ได้รับพระราชทาน  ใต้พัดยศปั้น ปูนข้อความ  “ ๑๐๐ ปี  ปู่เทสก์  ๒๖  เม.ย.  ๒๕๔๕”  บัวหัวเสาภายนอกอาคารทั้งชั้นบนและล่างปั้น ปูนกาบพรหมศร 
ชั้นบนประกอบด้วยคันทวยปูนปั้นทรงนาค  ชั้นล่างคันทวยปูนปั้นลักษณะเหยียดตรงมีลายประกอบ  ตกลงเหมาเฉพาะค่าแรงงานทั้งสิ้น  ๑๐๒,๐๐๐  บาท   
                    ต่อมาคุณโยมธเนตร  กับคุณโยมกิมเตียว  เอียสกุล   ได้มาเยี่ยมชาวบ้านที่วัดอาจาโรรังสี ได้เห็นอาคารอนุสรณ์ของท่านหลวงปู่หลังนี้แล้วบังเกิดศรัทธา   จึงปวารณาซื้อกระจกสีญี่ปุ่นสำหรับประดับช่อฟ้าใบระกา  หางหงษ์  และหน้าบันทั้งสองด้าน  ทราบว่ามูลค่า  ๘๐,๐๐๐  บาท    และโยมทั้งสองยังได้ถวายค่าแรงช่างติดกระจกจำนวน  ๒๐,๐๐๐  บาทให้อีกด้วย   รวมเฉพาะงานปิดกระจกมูลค่า  ๑๐๐,๐๐๐  บาท

อาคารพิพิธภัณฑ์

 
 

พระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ
 

 พระธาตุ

นขาธาตุ
 

ทันตาธาตุ
 

ตโจธาตุ
 

เกสาธาตุ
 

โลมาธาตุ
 

การประดับตกแต่งภายใน  
             ต่อจากนี้   จะพาท่านผู้อ่านเข้าชมภายในอาคารพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ครบรอบ ๑๐๐ ปี
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เริ่มจากพื้นของอาคารทั้งสองชั้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิค ขนาด ๑๖ x ๑๖ นิ้ว รุ่นอมรศิลา-น้ำตาล  โดยความอนุเคราะห์จากคุณชาญยุทธ-คุณเพ็ชรกิม  ตั้งชูพงศ์ ร้านชาญยุทธหนองคาย   ติดต่อขอซื้อจากบริษัท  โสสุโก้ เซรามิค  จำกัด   ในราคาพิเศษ โดยความกรุณาของคุณกิตติชัย  ไกรก่อกิจ   ผู้แทนของบริษัท   ก็ให้ความช่วยเหลือด้วยดี

พระพุทธทุกขนิโรธบารมี
                ชั้นบนของอาคารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธาน   ปางมารวิชัย   พุทธศิลป์สมัยเชียงแสนสิงห์  ๓  พร้อม
พระอัครสาวกทั้งคู่  องค์พระหน้าตักกว้าง  ๑.๗๒๕  เมตร  (รวมฐานกว้าง  ๒.๓๐  เมตร)  ความสูงองค์พระ  ๒.๗๕  เมตร 
(รวมฐานสูง  ๓.๗๐  เมตร)  หล่อด้วยโลหะทองเหลือง   ศุภสิริมงคล  ขององค์พระประธานนี้  ที่ควรนำมากล่าว  คือ
                       ๑.   สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  ทรงพระเมตตา  ประกอบพิธี
เบิกพระเนตรตามพุทธศาสนาประเพณีนิยม  ณ  วัดบวรนิเวศวิหาร   เมื่อวันที่  ๒๔  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๔
                       ๒.  ทรงประทานนามพระประธานว่า  “พระพุทธทุกขนิโรธบารมี”
                       ๓.   ทรงประทานพระสารีริกธาตุ  จำนวน  ๙ องค์  เพื่อบรรจุในเศียรพระประธาน
                       ๔.   ทรงประทานพระนามย่อ  ญสส.  เพื่อประดิษฐาน  ณ  ฐานพระประธานดังกล่าว
                       พระประธานดังกล่าวมูลค่า  ๓๐๐,๐๐๐  บาท  ซึ่งคุณไตรรัตน์   ชาญชิตโสภณ  และคุณสุนันท์  สถาพรธนวัฒน์
พร้อมครอบครัวมีจิตศรัทธาสร้างถวาย  ต่อมาทางวัดได้ดำเนินการหาช่างมาปิดทองคำ   พระประธานพร้อมพระอัครสาวก
สิ้นทุนทรัพย์อีก  ๑๐๐,๐๐๐  บาท   โดยมีคณะศรัทธาญาติโยมบริจาคทั้งหมดปรากฏรายนามในภาคผนวก

ลำดับเหตุการณ์สร้างพระประธานดังกล่าว
                       ๑.   วันที่  ๒๖  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๔๔  (วันอาทิตย์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเส็ง) 
                             ทำพิธีเททองที่โรงหล่อพระพุทธภัณฑ์  อ.นครชัยศรี  จ.นครปฐม
                       ๒.  วันที่  ๒๔ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๔ (วันพุธขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเส็ง)
                             สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  ทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร 
                       ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
                       ๓.  วันที่  ๒๕ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕ (วันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเส็ง)
                             พระพุทธทุกขนิโรธบารมี  ถูกอัญเชิญถึงวัดอาจาโรรังสี
                       ๔.  วันที่  ๑๖  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๔๕  (วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง)  
                             บรรจุปูชนียวัตถุใต้ฐานชุกชี  และปิดฐาน
                       ๕.  วันที่  ๒๖  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๔๕ (วันอังคารขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง)
                             วันมาฆบูชาอัญเชิญพระพุทธทุกขนิโรธบารมีขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี  ชั้นสองของอาคารพิพิธภัณฑ์
                             โดย พันเอกอัธยา  สุคนธสิงห์ ผบ.นพค.๒๖ ในขณะนั้น  นำกำลังพลพร้อมรถยกมาช่วยจนเรียบร้อย
                       ๖.   วันที่ ๒๘  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๔๕  ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖  
                             ทำพิธีอัญเชิญพระสารีริกธาตุบรรจุในเศียรพระพุทธทุกขโรธบารมี  โดยมีพระครูพิพิธธรรมสุนทร   
                             (หลวงปู่คำฟอง  เขมจารี)  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  นพ.ไพโรจน์  นิงสานนท์  เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
                             นายช่างผู้สร้างสรรค์งานศิลป์

พระพุทธทุกขนิโรธบารมี



                       พระประธานประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี   ลวดลายปูนปั้นปิดทอง   พื้นปูหินแกรนิต   งานก่อสร้างฐานชุกชี
พร้อมปั้นปูนลวดลายเป็นฝีมือของนายจันทนา   สุมังคะ   (ช่างแตร)   ซึ่งเป็นช่างทำโครงสร้างอาคารหลังนี้ทั้งหมด   รวมทั้ง
งานปูนปั้นบัวหัวเสาภายในอาคารชั้นบนทั้งสิบสองต้นด้วย   ส่วนฐานพระอัครสาวกทั้งคู่  รวมทั้งงานไม้ต่างๆ  อาทิ  งานติดตั้งลูกกรงไม้สักพร้อมราวบันได  ปูพื้น บันไดด้วยไม้สัก  ประกอบและติดตั้งบานประตูทั้งหมด   รวมทั้งบานหน้าต่างชั้นล่าง 
เป็นผลงานของนายประจิม  จันทร์นามวงศ์  ราษฎรบ้านคำข่า  ส่วนบานหน้าต่างชั้นบนเป็นบานเกล็ดไม้สัก   ซึ่งในยุคปัจจุบัน
หาดูได้ยากในที่ทั่วไปนั้น  สั่งทำจากโรงงานที่   อ.บางปะหัน   จ.พระนครศรีอยุธยา   การปิดกระจกสี  (ญี่ปุ่น)  ช่อฟ้า  
ใบระกา  หางหงษ์  หน้าบัน   รวมทั้งฐานชุกชีพระประธานและฐานพระอัครสาวกนั้น เป็นผลงานของนายจุลนพ  นาคแก้ว

                       ศุภนิมิตมงคลดังกล่าวมาแล้วนั้น     เกิดขึ้นต่อเนื่องโดยลำดับก็ด้วยศรัทธาของญาติโยมพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา  โดยเฉพาะศิษยานุศิษย์ผู้เคารพนับถือในพระเดชพระ คุณท่านหลวงปู่อย่างหนักแน่นมั่นคง  
แม้ท่านจะละสังขารจากไปแล้วหลายปี   แต่บรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายยังเคารพบูชาระลึกถึงท่านเป็นสังฆานุสสติอยู่ในจิตใจมิเสื่อมคลาย   เป็นเหตุให้ข้าพเจ้า  มีกำลังใจที่จะปฏิบัติศาสนกิจอันควรแก่ฐานะ   แก่พระพุทธศาสนาให้วัฒนาถาวรสืบต่อไป  จึงรำพึงอยู่ในใจว่า   ถ้ามีกำลังพอจะสร้างอาคารหลังนี้ให้งดงามสมบารมีธรรม  และเกียรติคุณของท่านหลวงปู่  เป็นอนุสรณ์ไว้ในพระพุทธศาสนา

งานช่างสิบหมู่  มรดกอันคุณค่าในสังคมไทย
                 งานตกแต่งอย่างหนึ่งที่ข้าพเจ้าตั้งใจไว้  คือ   การปิดทองเสาอาคารชั้นบนด้วยศิลปะลายรดน้ำ   เมื่องานโครงสร้างอาคารใกล้แล้วเสร็จใหม่ๆ    เคยเชิญช่างที่รู้จักกันชุดหนึ่งมาหารือ    เมื่อช่างคณะนั้นประเมินราคาแล้วปรากฏว่า  เกือบเท่ามูลค่างานโครงสร้างที่ได้ทำไปแล้วทั้งหมด

                  ก่อนออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๔๕  ได้ทำการปิดทองพระประธาน  “พระพุทธทุกขนิโรธบารมี”  โดยคุณคงกฤษณ์   ด่านวิรุฬหวณิช   ได้ส่งช่างมาสองคนคือ   นายกฤษฎา  เหลืองมโนกุล    และนายกฤษฎา   แตงมณี  ทั้งสองเพิ่งจบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล     วิทยาเขตเพาะช่าง  กรุงเทพฯ   ค่าแรงช่าง    คุณคงกฤษณ์เป็นผู้ปวารณาถวาย   ทางวัดจ่ายเฉพาะค่าทองคำเปลว   สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ  ๑๐๐,๐๐๐  บาท   ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น   ข้าพเจ้าจึงได้หารือกับนายช่างทั้งสอง    เรื่องงานเขียนน้ำยาปิดทองรดน้ำ  (ลายรดน้ำ)   เสาศาลาทั้ง  ๑๒  ต้นนั้น   ก็ได้รับคำปรึกษาแนะนำให้ใช้กรรมวิธีทำลวดลายปิดทองลายฉลุ      โดยเขียนลายที่ต้องการลงบนแผ่นกระดาษแล้วลอกลายนั้นลงบนแผ่นฟิล์ม   ฉลุตัวลายให้เป็นช่องตามที่ต้องการ   เมื่อเตรียมพื้นเสาเรียบร้อยแล้ว   จึงเอาแบบลายที่ฉลุไว้นั้น   ประกบติดเข้ากับเสาให้แน่น   แล้วจึงปิดด้วยทองคำเปลว   เมื่อทองสนิท  ติดแน่นกับพื้นผิวเสาเรียบร้อยดีแล้ว   จึงแกะเอาแบบลายนั้นออกจากต้นเสา   ซึ่งงานชนิดนี้เรียกตามภาษาช่างว่า  “งานลงรักปิดทองลายฉลุ”  เป็นศิลปกรรมของงานช่างรัก  หมวดหนึ่งของงาน ช่างสิบหมู่   อันเป็นงานช่างหลวงของสังคมไทยมาแต่โบราณกาล   (ส่วนลายรดน้ำนั้นอยู่ในหมวด  งานช่างเขียน)    เมื่อข้าพเจ้าสอบถามประมาณการ
ค่าใช้จ่ายดูแล้วเห็นว่าน่าจะพอทำได้  ทั้งนายช่างทั้งสองรับว่าจะมาทำให้ถ้าคุณคงกฤษณ์  เห็นชอบ   โดยให้ทางวัดจัดซื้อทองคำเปลวและวัสดุอุปกรณ์   เธอทั้งสองจะขอรับเฉพาะค่าแรง   เมื่อคำนวณและประเมินราคาดูแล้วสิ้นค่าทองคำต้นละประมาณ  ๑๐,๐๐๐  บาท   ทั้งเมื่อหารือกับคุณคงกฤษณ์แล้วก็ได้รับความเห็นชอบ ทั้งอนุญาตให้นายกฤษฎา  เหลืองมโนกุล 
ซึ่งเป็นช่างประจำของคุณคงกฤษณ์  มาทำงานให้พร้อมกับนายกฤษฎา   แตงมณี ญาติโยมพุทธศาสนิกชนร่วมพลังน้ำใจ

                 นับแต่ก่อสร้างวัดอาจาโรรังสีมา   ข้าพเจ้าตระหนักและรำลึกถึงอุปการะคุณของญาติโยมที่ให้การสนับสนุนมา
โดยตลอด   ท่านทั้งหลายให้การสนับสนุนด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนา   โดยมีข้าพเจ้าเป็นตัวแทนก่อสร้างทางกุศลแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น    หลายท่านได้มาพร้อมเพรียงกัน  ในวันถวายผ้ากฐินสามัคคีประจำปี  
ดังนั้น     ทุกปีข้าพเจ้าจึงได้สรุปรายรับ  รายจ่ายประจำปีให้ท่านผู้มีอุปการะคุณทั้งหลายได้ทราบ   ทั้งแจ้งโครงการที่จะทำต่อไปให้ท่านรับรู้   เพื่อท่านจะได้อนุโมทนาโดยทั่วถึงกัน  ปฏิบัติเช่นนี้ทุกปีมา  ในเทศกาลกฐินปี  พ.ศ. ๒๕๔๕   ข้าพเจ้าจึงแจ้งให้ทราบถึงเรื่องการทำลวดลายปิดทองลายฉลุต้นเสา   พร้อมทั้งปิดทองปูนปั้นบัวหัวเสาให้ทราบ   คณะศรัทธาญาติโยมต่างก็ช่วยรับเป็นเจ้าภาพจนครบทั้งสิบสองต้น   ปรากฏรายนามท่านทั้งหลายเหล่านั้นในภาคผนวก

                       จึงได้ดำเนินการปฏิบัติงานดังกล่าวเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๕   แล้วเสร็จ  ๑๐  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕   โดยทางวัดซื้อทองคำเปลวทั้งหมด  เฉพาะต้นเสาสิ้นทองคำเปลว   ๑๒๔,๙๐๐  บาท  อุปกรณ์ประกอบเช่น 
สี   คุณแม่มะลิ   ด่านวิรุฬหวณิช  เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย  ส่วนค่าแรงช่างทั้งสอง  คุณคงกฤษณ์   ด่านวิรุฬหวณิช   
ขอปวารณารับออกให้เช่นเคย   ผลงานลวดลายปิดทองลายฉลุต้นเสาดังกล่าวนับว่าโดดเด่นเป็นสง่า   สวยงามสดุดตาแก่
ผู้พบเห็นยิ่งนัก   ความหวังที่วาดไว้จึงปรากฏเป็นความจริง
                       อนึ่ง  บัวเชิงเสา  และบัวเชิงผนังอาคารชั้นบนนั้นเป็นไม้ประดู่แปรรูป   ซึ่งนายผอ  แพงดวงแก้ว    บ้านคางฮุง  ต.พอกน้อย   อ.พรรณานิคม   มีจิตศรัทธาบริจาคถวายแก่ทางวัดทั้งหมด     ทั้งได้นำไปทำไม้  เชิงชายกันสาดชั้นล่างด้วย
ทันตธาตุของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
                       การตกแต่งภายในอาคารนอกจากเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระเดชพระคุณหลวงปู่ โดยเฉพาะแล้ว   ยังจัดแสดงสิ่งของที่เกี่ยวกับท่าน   บริขารของพระกรรมฐาน ฯลฯ  (ปรากฏในหนังสือ)  แต่สิ่งสำคัญรองจากองค์พระประธานคือ   ทันตธาตุ  (ธาตุฟัน)    ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ซึ่งแปรสภาพเป็นพระธาตุสีดอกพิกุลแห้ง   รูปพรรณสัณฐาน   เมล็ดข้าวโพดและเมล็ดถั่วเขียว   ที่จัดแสดงไว้พร้อมกับ  อัฐิธาตุ   เกศาธาตุ   นขาธาตุ   ตโจธาตุ   โลมาธาตุ    โดยได้ติดต่อกับนายจรันดร  วัลละมาศ   ศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  วิทยาเขตเพาะช่าง   ร่วมกับนายกฤษฎา   แตงมณี  จัดทำบุษบกไม้สักปิดทองขนาดฐานกว้าง x ยาว =  ๔๐ ซม.  ตัวเรือนกว้าง x ยาว =  ๒๕  ซม. ฐานสูง ๔๐ ซม. ตัวเรือนสูง ๘๐ ซม.
จากฐานถึงยอดรวมสูง  ๑๒๐ ซม.  ในราคา  ๗๕,๐๐๐  บาท 
                     เมื่อคุณแม่กัลยา  จรรยาทิพย์สกุล   พร้อมคุณสุจินตนา   บุตรสาวมาเยี่ยมข้าพเจ้าที่วัดอาจาโรรังสี    (เมื่อวันที่  ๘  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๔๖)  ทราบข่าวเกิดศรัทธาจึงขอรับเป็นเจ้าภาพในส่วนนี้ทั้งหมด  ทั้งคุณสุจินตนา   ขอปวารณาจัดพิมพ์หนังสือประมวลงานนิพนธ์  (ธรรมปฏิบัติ)  ของพระเดชพระคุณท่านหลวงปู่  (สโมธานธรรมปฏิบัติ  ฉบับสมบูรณ์)  จำนวน ๒,๐๐๐  เล่ม  เพื่อแจกในการฉลองอาคารพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ครบรอบ  ๑๐๐  ปี   หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  ซึ่งคณะกรรมการวัดและญาติโยมผู้มีอุปการะคุณ  หารือกันแล้วเห็นควรให้จัดมีขึ้นในวันเสาร์ที่  ๒๖  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๔๖  นี้อีกด้วย
 

อัฐบริขารพระกรรมฐาน

ตาลปัตร


คณะศรัทธา  คณะทำงาน  ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ
 
                      การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์  ดำเนินมาด้วยความราบรื่นตามลำดับ   ศรัทธาของญาติโยมก็ช่วยจัดหาสิ่งที่เห็นควรว่าจำเป็น   และควรแก่อาคารหลังนี้มาเพิ่มเติมให้  เช่น   คุณป้าเอมอร  อุฬารกุล  จัดโคมไฟแขวนตรงหน้าพระประธาน   จำนวน  ๑  ชุด  คุณป้ายวนใจ  พูลสวัสดิ์   พร้อมญาติมิตร  จัดพัดลมประกอบโคมไฟเพดาน  จำนวน  ๔  ชุด  คุณมะลิทอง  แสงศิริ    ร้านวิชัยแอร์   จ.ขอนแก่น  จัดโคมไฟกิ่งติดฝาผนัง  จำนวน  ๑๔  ชุด   คุณลุงสำราญ  คณป้าวันเพ็ญ  ชยะกฤตย์ 
โรงกลึงโลหะกิจ  สกลนคร  จัดโคมไฟกิ่งติดฝาผนังด้านหลังพระประธาน  ๒  ชุด   คุณแสวง  ศิริจันทโรภาส   จ.อุดรธานี 
จัดพัดลมโคจรและพัดลมติดผนัง  สำหรับชั้นล่างของอาคาร  จำนวน  ๑๐  ชุด  การติดตั้งระบบไฟฟ้า  ภายในภายนอกอาคาร
ทั้งหมด  จสอ. ดุษิต  นนธิราช   เป็นผู้วางแผนออกแบบ   และเป็นผู้ดำเนินการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ  ทั้งสิ้น  เพียงแต่
ทางวัดจัดหาอุปกรณ์ให้เท่านั้น
                        ความสำเร็จของอาคารหลังนี้     นอกจากท่านที่ช่วยสนับสนุนทุนทรัพย์และวัสดุสิ่งของดังกล่าวมาแล้วนั้น  คณะทำงานที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่ควรกล่าวถึงคือ  คุณสถิตย์   พงษ์ไพโรจน์  ประธานกรรมการบริหารวัดอาจาโรรังสี  คุณอนันตสิทธิ์  ซามาตย์   ผู้ดูแลพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์  คุณธนัญ   โกศัลวัฒน์  หัวหน้าฝ่ายแผนงาน  สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร   อ.ชัยมงคล  จินดาสมุทร  ร.ร. ธาตุนารายณ์วิทยา    เป็นคณะที่ปรึกษาด้านงานทั่วไป   คุณแสวง   ศิริจันทโรภาส   เป็นที่ปรึกษางานด้านวิศวกรรม   คุณสมเกียรติ   และอาจารย์จิระพร   ราชสิงโห   เป็นที่ปรึกษาและรับเป็นธุระในงานด้านเอกสารทั้งหมด  จสต. วุฒิ  นนธิราช   รับธุระในงานเหรัญญิก  ด้านการเบิก-จ่าย   ติดต่อกับธนาคาร
                        อนึ่ง   คณะทำงานดังกล่าวนั้น   มิได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเฉพาะการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ  
แห่งนี้เท่านั้น    แต่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาวัดอาจาโรรังสีในทุกเรื่องโดยลำดับมาจึงขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของท่านทั้งหลายเหล่านั้นมาด้วยความตื้นตันใจ


             

     

สถิติวันนี้

 34 คน

สถิติทั้งหมด

139817 คน

เริ่มเมื่อ 2011-12-10


วัดอาจาโรรังสี บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐ โทร. ๐-๔๒๙๘-๑๐๘๗