พระปฐมพุทธปฏิมาประธาน สำหรับพระพุทธปฏิมาประธานประจำศาลาการเปรียญ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย* ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว คุณจรูญ ทรายสุวรรณ พร้อมครอบครัวสร้างถวาย โดยนายช่างจุลนพ นาคแก้ว มีศรัทธาบริจาคปิดทองถวายเช่นกัน พระพุทธรูปปางมารวิชัยปิดทองอีกองค์หนึ่ง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว ซึ่ง ประดิษฐานอยู่คู่กันนั้น คุณวิจิตร มโนชัย พร้อมญาติมีจิตศรัทธาสร้างถวาย ส่วนห้องกระจกที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น นายช่างวิจิตร ราศรี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคายสร้างถวาย ประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๑ น.พ. ประโยชน์ ปรัชญาอาภรณ์ พร้อมครอบครัวมีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูปนาคปรก ขนาดหน้าตักองค์พระกว้าง ๒๙ นิ้ว ปิดทองคำ มีมูลค่าประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาทประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญ และได้ถวายพระนามท่านว่า พระพุทธมงคลรังสี หมายเหตุ (*) พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๑๙ นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน ณ อาคารหอสวดมนต์
ฌาปนสถาน อนุสรณ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี การก่อสร้างสถานที่เผาศพที่เรียกว่า ฌาปนสถานจึงเริ่มลงมือในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งประกอบด้วย เตาเผาศพเมรุทรงไทย ขนาดกว้าง x ยาว = ๔ x ๘ เมตร และศาลาบำเพ็ญกุศลทรงไทยขนาดกว้าง x ยาว = ๑๐ x ๑๒ เมตร ซึ่งย้ายไปสร้างทางด้านทิศเหนือสุดเขตวัด ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๙๐๐,๐๐๐ บาท (เก้าแสนบาทถ้วน) เงินจำนวนนี้ ได้มาโดยเงินที่ญาติโยมมีจิตศรัทธาบริจาคร่วมงานบำเพ็ญกุศล เมื่อคราวที่พระเดชพระคุณท่านหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี มรณภาพ ณ วัดถ้ำขาม ซึ่งอนุมัติโดยมติที่ประชุมคณะกรรมการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณ เทสกเจดีย์ฯ วัดถ้ำขาม เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ ๒๕๔๐ ฌาปนสถานแห่งนี้สร้างเสร็จเรียบร้อย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และได้ให้ชื่อว่า อนุสรณ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
การหล่อรูปพระมหาเถราจารย์ ในปี พ.ศ ๒๕๔๐ มีคณะศรัทธาเป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือน (โลหะ) เท่าองค์จริงของพระบูรพาจารย์ ถวาย ดังนี้คือ ๒.๗.๑ ร้านแดงแหนมเนือง จ.หนองคาย เป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จำนวน ๑ องค์ ๒.๗.๒ คุณจรูญ ทรายสุวรรณ และครอบครัว จ.ชลบุรี เป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จำนวน ๒ องค์ ๒.๗.๓ คุณวัชระ ธีระรัตนางกูร และครอบครัว จ.ระนอง เป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จำนวน ๑ องค์ รวมการหล่อรูปเหมือนพระมหาเถราจารย์ ๔ องค์ คิดเป็นมูลค่าองค์ละ ๖๐,๐๐๐ บาท ได้ทำพิธีเททองหล่อรูปพระมหาเถราจารย์ดังกล่าว ณ วัดอาจาโรรังสี เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ มีคณะศรัทธาพุทธศาสนิกชนมาร่วมพิธีเททองในวันนั้นเป็นจำนวนมาก
การก่อสร้างกุฏิ ซ่อมแซมเสนาสนะศาลาการเปรียญ (พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒) ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒ ทางวัดได้ก่อสร้างกุฏิและอาคารที่พักรับรองญาติโยมผู้มาแสวงบุญและปฏิบัติธรรม ตลอดทั้งมีการบูรณะซ่อมแซมศาลาการเปรียญ และกุฏิพักของสงฆ์ทุกสิ่งทุกอย่างในการก่อสร้าง และการบูรณะซ่อมแซมสำเร็จได้ด้วยแรงศรัทธาของผู้มีจิตเป็นกุศลดังนี้ -คุณสมบุญ-คุณสวัสดิ์ ภูขาว พร้อมคุณจรัญ อ.พูนทรัพย์ ภูขาว บริจาคทรัพย์ จำนวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) สร้างกุฏิพระ (เบอร์ที่ ๑๒) -บุตรหลานคุณยายคำตัน วรรณสวัสดิ์ ถวายบ้าน ๑ หลัง เพื่อนำมาสร้างกุฏิอุทิศให้คุณยายคำตัน วรรณสวัสดิ์ และบรรพบุรุษ (กุฏิเบอร์ที่ ๑๓) -คุณพ่อสันต์-คุณแม่จรูญศรี พานิชสวัสดิ์ พร้อมบุตร-ธิดา สร้างกุฏิพระอุทิศให้บรรพบุรุษ ๑ หลัง (กุฏิเบอร์ที่ ๑๔) - คุณธานินทร์ พันธ์ประภากิจ จากกรุงเทพฯ บริจาคบ้านเก่า เพื่อสร้างกุฏิ ๑ หลัง (กุฏิเบอร์ที่ ๑๕) - คุณประมูล กุลสานต์ นายกเทศมนตรีดงมะไฟและคุณประวัติ กุลสานต์ภรรยาพร้อมครอบครัว มีจิตศรัทธาบริจาค สร้างกุฏิอีก ๑ หลัง (กุฏิเบอร์ ๑๖) -คุณแม่จรูญศรี น.ส.พีระพรรณ์ พานิชสวัสดิ์ อ.อุดม คุณบุญส่ง เปลื้องทุกข์ เป็นเจ้าภาพสร้างอาคารพักรับรอง ฆราวาส ๑ หลัง (อาคาร ๒๐๑) - นายจันทร์ โสภาพ และคณะศรัทธาราษฎรบ้านคำข่า มีความคิดริเริ่มร่วมกันสร้างอาคารพักสำหรับรับรองญาติโยม ผู้มาแสวงบุญและปฏิบัติธรรม โดยราษฎรบริจาคไม้ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดตลอดจนอุทิศแรงกายดำเนินการก่อสร้างนับตั้งแต่ฐานราก โครงสร้าง ตลอดมุงหลังคาจนแล้วเสร็จ ต่อจากนั้นจึงได้ว่าจ้างช่างมาดำเนินงานต่อ
ลักษณะของอาคารรับรองหลังนี้เป็นอาคารสองชั้น กว้าง ๖ ยาว ๑๕ เมตร ชั้นบนเป็นไม้ทั้งหมด ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน มีห้องสุขาทั้ง ๒ ชั้น จำนวน ๘ ห้อง หน้าต่างและประตูเป็นไม้สักทั้งหมด ติดเหล็กดัดและมุ้งลวด โดยมีผู้ร่วมบริจาคดังนี้ - คุณยายถมยา พวงน้อย บริจาคห้องสุขา ๑ ห้อง - น.ส. ระพีพรรณ์ พานิชสวัสดิ์ พร้อมญาติมิตร จ.พระนครศรีอยุธยา บริจาคกระเบื้องปูพื้นชั้นล่างของอาคาร - ร้านชาญยุทธ หนองคาย บริจาคกระเบื้องติดเสาคอนกรีต - คุณสุภาพ ศรีพันธ์ และครอบครัว กรุงเทพฯ บริจาคมุ้งลวดประตูหน้าต่าง - คุณธานินทร์ พันธ์ประภากิจ กรุงเทพฯ บริจาคบานประตูและบานหน้าต่างไม้สักทั้งหมด ประตูห้องอีก ๑ บาน - ส่วนอื่นๆ นอกจากนี้ทางวัดดำเนินการ อาคารหลังนี้เสร็จลงได้ด้วยความสมัครสมานสามัคคี และความร่วมมือด้วยดีของราษฎรบ้านคำข่า โดยมีนายแจ้ง วงศ์พรหม เป็นผู้นำและมีนายจันทร์ โสภาพ เป็นผู้ดำเนินงาน -ซ่อมแซมต่อเติมกันสาดบังแดด-ฝน รอบศาลาการเปรียญทั้ง ๓ ด้าน โดยใช้เสาคอนกรีต โครงหลังคาเหล็ก มุงด้วยกระเบื้องคอนกรีตทั้งหมด -คุณสุภาพ ศรีพันธ์ พร้อมครอบครัว ศรัทธาบริจาคค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการติดตั้งมุ้งลวดกุฏิสงฆ์ ๑๑ หลัง -คุณโสภณ คุณวรวรรณ วิชชุเกรียงไกร เจ้าของและผู้จัดการบริษัทเฮ้งมุ่ยหลี อิฐ บปก.จำกัด ต.บางปลากด อ.บ้านโมก จ.อ่างทอง บริจาคอิฐ บปก สำหรับใช้ในการก่อถังเก็บน้ำฉาบปูน มีขนาดกว้าง ๒.๕๐ เมตร สูง ๓ เมตร ยาว ๗.๕๐ เมตร บรรจุน้ำได้ ๕๖,๐๐๐ ลิตร
สรุปค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และบูรณะซ่อมแซมจำนวน ๑๐ รายการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๔๔๙,๙๕๑.๒๕ บาท (สี่แสนสี่หมื่นเก้าพันเก้าร้อยห้าสิบเอ็ดบาทยี่สิบห้าสตางค์)
ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ตั้งแต่เริ่มแรกมาก่อสร้างวัดอาจาโรรังสี ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เพราะการไฟฟ้าขยายเข้ามาไม่ถึง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ผู้มีจิตศรัทธาหลายท่านได้บริจาคทรัพย์ เพื่อขอขยายเขตไฟฟ้าเข้ามาใช้ภายในบริเวณวัดดังนี้ - คุณโยมมะลิ ด่านวิรุฬหวณิช พร้อมบุตรหลาน มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท - นาวาเอกหิรัญ-คุณพยุง สตานนท์ พร้อมคุณกมล-คุณบุญยวง ทองเจียม บริจาคทรัพย์เป็นเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท - คุณวิโรจน์ ชาญอุตสาห์ พร้อมครอบครัว บริจาคสายเมนแรงต่ำที่ใช้เดินภายในบริเวณวัดทั้งหมด ความยาวประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร รวมเป็นเงินที่ได้รับบริจาคเพื่อใช้ในการขยายเขตไฟฟ้าเข้ามาใช้ภายในบริเวณวัด ๑๕๐,๐๐๐ บาท และได้ดำเนินการเรียบร้อย ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๒๒๘,๒๖๔ บาท ค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกินจากนั้น ใช้เงินทุนของทางวัด และมีผู้บริจาคสมทบ
ระบบน้ำประปา ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีพของมนุษย์คือ น้ำ ทั้งประโยชน์สำหรับอุโภคและบริโภค การสร้างวัดใหม่แห่งนี้ จำเป็นต้องใช้น้ำค่อนข้างมาก เพราะอยู่ด้วยกันหลายคนทั้งยังต้องใช้สำหรับงานก่อสร้างด้วย - ในเบื้องต้นคุณกิตติ รุ่งเรืองระยับกุล พร้อมครอบครัว มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างถังเก็บน้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๒๐ เมตร สูง ๓.๖๐ เมตร จำนวน ๒ ถัง - ก่อนเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๔๐ คุณอนันตสิทธิ์ ซามาตย์ ผู้ดูแลพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์พร้อมกับเจ้าหน้าที่ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และราษฎรบ้านขาไก่ อ.กุสุมาลย์ มีจิตศรัทธาสร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เมตร สูง ๓ เมตร ขนาดบรรจุน้ำได้ถังละ ๒๑,๐๐๐ ลิตร จำนวน ๒ ถัง ถวายวัดอาจาโรรังสี - หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนเมื่อน้ำฝนขาดแคลน เช่น กองควบคุมไฟป่าพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์,กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ๒๓ สกลนคร,อำเภอพรรณานิคม, อำเภอวานรนิวาส,เร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดสกลนคร ให้ความอนุเคราะห์ส่งรถบรรทุกน้ำมาบริการ ในส่วนของวัดเองก็พยายามที่จะเจาะน้ำบาดาล แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จพอที่จะพึ่งตนเองได้ในระยะนั้น ต่อมาได้เจาะบ่อบาดาลประสบความสำเร็จ ได้น้ำสะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ดี แต่ขัดข้องด้วยวิธีการนำน้ำขึ้นมาใช้เพราะไม่มีไฟฟ้า ผู้มีจิตศรัทธาทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับการนำน้ำขึ้นมาใช้ไม่ได้ จึงให้ความอนุเคราะห์ช่วยแก้ปัญหาดังนี้
๑ คุณกิตติ รุ่งเรืองระยับกุล จึงจัดหาเครื่องสูบน้ำจากบ่อบาดาลโดยใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง สูบน้ำขึ้นมาใส่ถังเก็บน้ำฝนที่ว่างอยู่ แล้วจ่ายไปตามกุฏิพระและสถานที่ที่จำเป็นต้องใช้น้ำ เช่น ศาลาและห้องสุขา การแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ ได้สำเร็จภายในปี พ.ศ ๒๕๔๑ ๒ คุณอนันตสิทธิ์ ซามาตย์ ผู้ดูแลพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ พร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกับกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้สร้างถังเก็บน้ำ (แบบเดิมที่เคยสร้างถวาย) ถวายอีก ๑ ชุด จำนวน ๒ ถัง บรรจุน้ำได้ ๔๒,๐๐๐ ลิตร นับว่าทำให้ระบบน้ำใช้น้ำบริโภค สะดวกขึ้นอีกมากในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เมื่อทางวัดมีระบบไฟฟ้าที่สมบูรณ์แล้ว ในปลายปี พ.ศ.๒๕๔๒ คุณบุญมา ไพรวัฒนานุพันธ์พร้อมครอบครัว ได้มาเห็นวัดอาจาโรรังสีพัฒนาขึ้นมากและบังเกิดความศรัทธาปรารภจะจัดสร้างระบบประปา โดยจัดตั้งกองผ้าป่าสามัคคี ซึ่งมีคุณแม่เซียะเตียง แซ่ลิ้ม เป็นประธาน พร้อมบุตรหลานญาติมิตร จาก อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมกับคณะศรัทธาจากกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างถังจ่ายน้ำประปา ขนาดบรรจุ ๒๐,๐๐๐ ลิตร ความสูง ๒๐ เมตร ดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ สิ้นค่าใช้จ่าย ๑๘๓,๔๘๒ บาท คณะผ้าป่าชุดนี้นำมาทอดถวายเมื่อ วันที่ ๒๐ ก.พ. ๒๕๔๓ ได้ปัจจัยเป็นจำนวนเงิน ๓๒๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือจากการจัดระบบประปาครั้งนี้ ได้นำมาใช้ในการพัฒนาวัด นอกจากนี้ในปี พ.ศ ๒๕๔๒ ทางราชการได้ให้การสนับสนุนโดยใช้งบประมาณของแผ่นดินมาสร้างสรรค์พัฒนาวัดอาจาโรรังสีดังนี้ - กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ ขุดเจาะบ่อบาดาล ขนาดกว้าง ๖ นิ้ว ความลึกประมาณ ๕๐ เมตร พร้อมอุปกรณ์และเครื่องสูบน้ำ ๑ ชุด - สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข สร้างถังเก็บน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร สูง ๓.๖๐ เมตร ๑ ชุด จำนวน ๙ ถัง พร้อมหลังคาคลุมเพื่อรองรับน้ำฝน กำแพงวัด เริ่มก่อสร้างกำแพงวัด ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ตามลำดับ ดังนี้ ทิศใต้ ด้านติดถนน รพช มีความยาว ๒๓๘ เมตร ทิศตะวันออกมีความยาว ๕๙ เมตร รวมความยาว ๒๙๗ เมตร ก่อด้วยอิฐ บปก.บริจาคโดยคุณโสภณ-คุณวรวรรณ วิชชุเกรียงไกร เจ้าของและผู้จัดการบริษัท เฮ้งมุ่ยหลี อิฐ บปก. จำกัด ต.บางปลากด อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ก่อสร้างทั้งหมด ทิศเหนือ มีความยาว ๑๔๓ เมตร ทิศตะวันออกด้านใน มีความยาว ๑๑๑ เมตร รวมความยาว ๒๕๔ เมตร ก่อด้วยอิฐซีเมนต์บล๊อค ฉาบปูน บริจาคโดย คุณชาลี จึงรุ่งอรุโณทัย เจ้าของและผู้จัดการโรงงานผลิตอิฐซีเมนต์บล๊อค อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ท่อซีเมนต์ที่ใช้หล่อทำเสากำแพงทั้งหมด จำนวน ๓๐๐ ท่อน บริจาคโดยศรัทธาของคุณแสวง ศิริจันทโรภาส พร้อมครอบครัว จ.อุดรธานี รวมความยาวของกำแพงที่ทำไปแล้วทั้งสิ้น ๕๕๑ เมตร สิ้นเงิน ๓๕๖,๒๔๐.๐๐ อนึ่ง อิฐ บปก ที่บริจาคโดยคุณโสภณ คุณวรวรรณ วิชชุเกรียงไกร และอิฐซีเมนต์บล๊อคที่บริจาคโดย คุณชาลี จึงรุ่งอรุโณทัย นอกจากจะใช้สำหรับก่อกำแพงดังกล่าวแล้ว ยังได้ใช้ในการก่อสร้างส่วนอื่นตามสมควรอีก เช่น กุฏิ ห้องสุขา ถังเก็บน้ำ และอื่นๆ ที่เหมาะสมตามความจำเป็นอีกด้วย
การสร้างถนนลาดยาง เส้นทางสัญจรจากหมู่บ้านสู่วัดอาจาโรรังสี สามารถเข้า-ออกได้สองทางคือ ทิศเหนือเส้นทางบ้านไร่-บ้านคำข่า และทิศใต้ เส้นทางบ้านคำข่า-บ้านโนนอุดม เมื่อแรกเริ่มสร้างวัด ได้ตัดถนนดิน จากสองเส้นทางนั้นผ่านเข้ามาในบริเวณวัด ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นถนนลูกรัง ครั้นถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๓ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๒๖ สำนักงานภาค ๒ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้มีศรัทธา ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าวเป็นถนนลาดยาง ผิวถนนกว้าง ๕.๐ เมตร ความยาว ๐.๖๓๕ กม ทั้งยังได้ขยายเส้นทางเข้ามาภายในเขตสังฆาวาส เพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษอีกประมาณ ๐.๓๐๐ กม. ด้วย จึงขอขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลศรัทธาของ พ.อ. อัธยา สุคนธสิงห์ ผู้บังคับหน่วย และนายทหาร ตลอดจนเจ้าหน้าที่กำลังพลทุกๆ ท่าน ที่ช่วยสร้างเส้นทางธรรม ยังประโยชน์แก่ผู้มีกุศลศรัทธา แสวงหาความดีงามใน บวรพุทธศาสนา ณ วัดอาจาโรรังสี นับว่าสร้างความสะดวกสบายแก่ภิกษุสามเณร ผู้อยู่จำพรรษาตลอดจนสาธุชนทั้งปวง เคยมีเทวดาผู้สัมมาทิฏฐิ กราบทูลถามพระบรมศาสดาว่า บุคคลควรประพฤติตนเช่นไรจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งมั่น อยู่ในความดี มีบุญอยู่ทุกเมื่อ และบุคคลควรประพฤติตนอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่ในธรรม มีสุคติภูมิคือสวรรค์เป็นที่หมาย ทรงมีพุทธฎีกาตรัสตอบปัญหานั้นว่า บุคคลผู้สร้างสาธารณกุศลสถาน เพื่อประโยชน์แก่ ชนหมู่มาก เช่น สร้างอาราม ปลูกหมู่ไม้ให้ร่มเงาแก่คนเดินทางได้พักอาศัย สร้างสะพาน สร้างถนนเพื่อการสัญจร ขุดบ่อน้ำ สร้างถังน้ำประปา เพื่อมหาชนได้ใช้สอยบริโภค สร้างที่พักอาศัยให้แก่ผู้มีศีล ผู้ปฏิบัติธรรม ตลอดจนคนเดินทาง บุคคลเหล่านั้นย่อมได้รับกุศลผลบุญเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน บุคคลผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม คือคุณความดี มีศีลสมบูรณ์ ย่อมเป็นผู้มีสุคติภูมิ คือสวรรค์สมบัติ เป็นที่หมาย ที่กล่าวมาโดยสังเขปนั้น ก็ด้วยสำนึกในบุญคุณพระพุทธศาสนา พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ มีพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นต้น บรรดาฆราวาสญาติโยมพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่มีจิตใจเลื่อมใสศรัทธา จึงพากันให้ความอุปการะ ภิกษุสามเณร วัดอาจาโรรังสี แห่งนี้ นับเป็นอุปการะคุณที่มากด้วยคุณค่าอย่างยิ่งที่ทุกท่านทุกคน ผู้เข้ามาพำนักปฏิบัติธรรมในสำนักนี้พึงตระหนักและตั้งใจกระทำคุณงามความดี มีการสำรวมกายให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลสิกขาบทวินัยอย่างเคร่งครัด ขยันหมั่นเพียรอบรมฝึกหัดปฏิบัติสมาธิภาวนาเป็นนิตย์ ให้จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว จนเกิดปัญญารอบรู้ทั้งภายนอกภายในตามสมควรแก่อุปนิสัยวาสนาของตน แล้วตั้งจิตอุทิศผลแห่งคุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกตเวทิตาคุณตอบแทนท่านผู้มีอุปการะทั้งหลายทั้งที่ได้กล่าวนามและมิสามารถกล่าวนามได้ ขอจงสำเร็จสมประสงค์ในสิ่งที่จำนงหมายโดยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ
หอสวดมนต์ และหอระฆัง เมื่อต้นปี พ.ศ ๒๕๔๒ โยมบุญชม ปิติสม พร้อมคุณบุญส่ง เปลื้องทุกข์ (บุตรสาว) ชาว ต.ตาลาน อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มีศรัทธาถวายโครงสร้างยุ้งข้าวทรงไทยภาคกลางขนาดกว้าง๔ เมตร x ยาว ๖ เมตร อายุประมาณ ๑๐๑ ปี เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คุณตาชื่น ทองธานี (บิดาของโยมบุญชม) และญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาอาจารย์อุดม เปลื้องทุกข์ พร้อมญาติพี่น้องก็พร้อมใจกันถวายโครงสร้างยุ้งข้าวทรงไทยขนาดเดียวกัน ซึ่งมีอายุประมาณ ๙๐ ปีเศษ อีก ๑ หลัง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คุณพ่อสมบุญ-คุณแม่ชั้น เปลื้องทุกข์ ชาวตำบลลาดชิด อ.ผักไห่ ผู้ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน โครงสร้าง ดังกล่าวทั้งสองหลังโครงหลังคาทำด้วยไม้สักอยู่ในสภาพดี ยกเว้นบางส่วนที่ถูกแดด-ฝน ได้ชำรุดเสียหายไปบ้าง หน้าบัน ของอาคารหลังแรกอยู่ในสภาพใช้การได้ ซ่อมแซมเล็กน้อย ส่วนอีกหลังต้องทำใหม่ ปั้นลมได้ให้ช่างทำใหม่หมดทั้งสองหลัง หลังแรกเสาเรือนส่วนบนปรับปรุงใช้ได้บ้างแต่ไม่มีไม้พื้น อีกหลังหนึ่งเสาชำรุดทั้งหมดแต่พื้นไม้ตะแบกอยู่ในสภาพดี จึงได้ยกโครงสร้างอาคารทั้งสองหลังตั้งคู่กัน (หลังแรกอยู่ด้านหน้าทิศตะวันออก) เป็นอาคารสูงสองชั้น โครงสร้างชั้นล่าง เป็นคอนกรีตทั้งหมดต่อระเบียงออกโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ อีกด้านละ ๓ เมตร จึงปรากฏเป็นอาคารทรงไทยคู่พร้อมระเบียงรอบ ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร x ยาว ๑๕ เมตร ฝาผนังก่ออิฐฉาบปูน ติดหน้าต่าง พร้อมมุ้งลวดและเหล็กดัดโดยรอบทั้ง ๔ ด้านทั้ง สองชั้น ชั้นล่างก่อเอวขัณฑ์ บัวคว่ำบัวหงาย ชั้นบนพื้นไม้ ชั้นล่างพื้นคอนกรีตปูกระเบื้องเซรามิค พดานชั้นบนทำด้วยไม้เพดานชั้นล่างทำด้วยแผ่นยิบซั่ม ชั้นบนมีฐานชุกชีทำด้วยไม้ ประดิษฐานพระประธาน ๓ องค์ องค์กลาง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เกศดอกบัว หน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว ถวายโดยคุณจรูญ-คุณดวงพร ทรายสุวรรณ จังหวัดชลบุรี ขวามือ ของพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เกศเปลวเพลิง หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว ถวายโดยคุณสมบุญ-คุณสวัสดิ์ ภูขาว จังหวัดสิงห์บุรี ด้านซ้าย เป็นพระพุทธชินราชจำลอง หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว บุตรหลานสร้างอุทิศให้แก่คุณพ่อผาด-คุณแม่สมพร พิณฑสันต์ กรุงเทพฯ ฐานชุกชีพระประธานดังกล่าวสร้างถวายโดยร้านแดงแหนมเมือง จังหวัดหนองคาย ทั้งได้ออกค่าแรงช่างสร้างตู้พระไตรปิฎก ๑ หลัง โดยใช้ไม้สักของนายจอน-นางสุมา ลือแสน (ได้ถวายให้จำนวน ๒ ต้น) ส่วนหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับสมบูรณ์สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จำนวน ๑ ชุด (มี ๙๑ เล่ม) พร้อมตู้อีก ๑ ใบนั้น อ.สรสิทธิ์ อ.โลมเพ็ญ อ.นิรัตน์ น.ส.บุญเจริญ น.ส.จินตนา กวานดา พร้อมญาติมิตรจัดมาถวาย พระไตรปิฎกดังกล่าวประดิษฐานอยู่ชั้นบนของ หอสวดมนต์ ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับไหว้พระสวดมนต์ ปฏิบัติภาวนา และทำวินัยกรรมบางอย่าง เช่น สวดพระปาติโมกข์ พื้นที่ชั้นล่างเป็นที่รวบรวมหนังสือพระธรรมเทศนา และสารคดีที่มีคุณค่าเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้า ต่อมาได้ดำเนินการก่อสร้างหอระฆังด้านทิศตะวันออก (ด้านหน้า) ของอาคารหอสวดมนต์ทำบันไดขึ้นร่วมกัน เป็นอาคารทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด กว้าง x ยาว x สูง = ๒.๕๐ เมตรx ๒.๕๐ เมตร x ๙ เมตร ติดตั้งช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ คันทวย ทำด้วยปูนปั้นทั้งหมดหน้าบันทั้ง ๒ ด้านปั้นปูนลวดลายใบเทศล้อมรอบเทพนม ชั้นบนแขวนระฆัง ชั้นล่างแขวนโปง (เครื่องตีบอกยามของชาวอีสาน) การก่อสร้างหอสวดมนต์และหอระฆัง สิ้นเงินจำนวน ๗๐๔,๒๙๕ บาท ทั้งนี้ไม่รวมมูลค่าวัสดุที่ได้รับบริจาค เช่น เหล็กเส้นที่ใช้ในการก่อสร้างหอระฆังรวมทั้งบันไดคอนกรีตขึ้นหอระฆังและหอสวดมนต์ ตลอดจนเหล็กที่ใช้ในการเทพื้นคอนกรีตชั้นล่าง (บางส่วน) เป็นศรัทธาของคุณเลี้ยง วิศวธีรานนท์ กรุงเทพฯ อิฐที่ใช้ก่อสร้างทั้งหมดเป็นของ คุณโสภณ-คุณวรวรรณ วิชชุเกรียงไกร กระเบื้องเคลือบดินเผามุงหลังคาหอระฆังและลูกกรงเซรามิค ถวายโดย คุณธเนตร-คุณกิมเตียว เอียสกุล จ.หนองคาย คุณวิจิตร มโนชัย และ น.ส. เฉลิมพร วภักดิ์เพชร บ้านดงมะไฟ ต.ขมิ้น ถวายไม้ตะเคียนทองใหญ่ ๑ ต้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่คุณตาขาน-คุณยายหม้อ วภักดิ์เพชร ซึ่งได้นำมาแปรรูป ทำพื้นหอสวดมนต์และอื่นๆ ไม้โครงหลังคาและไม้พื้นส่วนเพิ่มเติม นอกจากนั้นทั้งหมดเป็นของราษฎรบ้านคำข่า และหมู่บ้านใกล้เคียงพร้อมใจกันจัดหามาให้สร้างจนพอเพียง ต้องขออภัยที่ไม่สามารถออกนามท่านทั้งหลายได้หมด แต่คุณความดี บุญกุศลนั้นได้จารึกไว้ในดวงจิตของท่านทั้งหลายอย่างเต็มภูมิแล้ว สีทองสำหรับทาลวดลายเป็นของคุณแม่มะลิ และคุณศิริ ด่านวิรุฬ หวณิช กรุงเทพฯ คุณชาญยุทธ-คุณเพ็ชรกิม ตั้งชูพงศ์ ร้านชาญยุทธ จ.หนองคาย สร้างระฆังถวายพร้อมน้ำมันทาไม้เพดานภายในอาคารหอสวดมนต์ชั้นบน ทั้งยังเป็นธุระติดต่อกับบริษัท โสสุโก้ ประเทศไทย จำกัด จัดจำหน่ายกระเบื้องเซรามิคสำหรับปูพื้นหอสวดมนต์ และหอระฆังทั้งหมดให้แก่ทางวัดในราคาพิเศษอีกด้วย ส่วนน้ำมันทาไม้เพดานรอบนอกอาคารเป็นของร้านไพฑูรย์ พาณิชย์ ตลาดผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา นายช่างปิยรส นิจจะ ร่วมกับราษฎรบ้านผักคำภู หมู่ ๖, ๙ และ ๑๑ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จัดสร้างโปงมาถวาย มุ้งลวด บานหน้าต่างทั้งหมดพร้อมหน้าต่างบานเกร็ดกระจกอีก ๑๑ ชุด เป็นศรัทธาของคณะศิษย์ อ.อมร รัตนะนาคินทร์ กรุงเทพฯ นำโดยคุณกิตติ-คุณแสงเพ็ญ รุ่งเรืองระยับกุล และคุณสุภาพ-คุณนภาพร ศรีพันธ์ พัดลมติดตั้งหอสวดมนต์ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง เป็นของคณะศรัทธาชาวจังหวัดสกลนคร นำโดยคุณป้ายวนใจ พูลสวัสดิ์ อนึ่ง นับแต่ปี พ.ศ ๒๕๔๑ อ.อุดม-คุณบุญส่ง เปลื้องทุกข์ สองสามี ภรรยา ได้ชักชวน ญาติมิตรมาทำบุญที่วัดอาจาโรรังสีทุกปีเสมอมา และในการฉลองหอสวดมนต์และหอระฆัง ซึ่งทางวัดกำหนดขึ้นในวันที่ ๒๑-๒๒ เมษายน ๒๕๔๔ นี้ยังได้ปวารณาปัจจัยเพื่อร่วมการดังกล่าวอีก๑๐,๐๐๐ บาทด้วย การดังกล่าวสำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อย ก็เพราะอำนาจแห่งกุศลเจตนาของคณะศรัทธาทั้งหลาย ที่มั่นคงและซื่อตรงต่อ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ทั้งที่ออกนามก็ดี และไม่สามารถออกนามได้ทั่วถึงก็ดี ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้อีกครั้ง ขออานิสงส์แห่งคุณงามความดีทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสำเร็จประโยชน์แก่สาธุชนทั้งหลาย มีคุณตาชื่น ทองธานี และญาติผู้ล่วงลับ คุณพ่อสมบุญ-คุณแม่ชั้น เปลื้องทุกข์ และญาติผู้ล่วงลับ ผู้เป็นปฐมเหตุแห่งการสร้างหอสวดมนต์และหอระฆังนี้ จงเสวยสุคติในสัมปรายิกภพที่ได้อุบัติแล้วนั้นๆ สมปรารถนาทุกประการ ทั้งขอให้ท่านทั้งหลายที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งนี้ จงประสบแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลด้วยจตุรพิธพรชัยโดยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกเมื่อเทอญฯ
|