|
สนทนาธรรมกับลูกศิษย์ โดย พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร วัดอาจาโรรังสี
| |
|
|
เกียรติบัตรประกาศเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔
|
|
|
พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร รับพัด สธจ.ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ |
พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร รับพัด สธจ.ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ( สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ) ซึ่งรับ ณ วัดพิชยญาติการาม เมื่อ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔
|
|
|
|
|
|
|
แจ้งข่าวการกุศล เรื่องการก่อสร้างกำแพงวัด ตั้งแต่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๖ |
|
|
|
บันทึกเล่าเรื่อง...เที่ยวเมืองพม่า โดย พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร วัดอาจาโรรังสี |
|
|
เมื่อข้าพเจ้าไปเฝ้าสมเด็จพ่อ ครั้งที่ ๔ โดย พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร วัดอาจาโรรังสี | | | |
|
|
วิหารพระบาง ครั้นเมื่อเริ่มแรกก่อตั้งวัดอาจาโรรังสี คุณนิธิมา สุรัติอันตรา เจ้าของและผู้จัดการโรงหล่อพระพุทธภัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้หล่อ พระบางดังกล่าวทั้งหมดมาแต่เริ่มแรก มีศรัทธาปวารณาสร้างพระบางองค์ใหญ่นั้นถวาย เพื่อประจำวัดนี้ โดยมีคุณธานินทร์ พันธุ์ประภากิจเป็นผู้บริจาคโลหะทองแดงที่ใช้ในการหล่อพระร่วมด้วย การหล่อกระทำที่โรงหล่อพระพุทธภัณฑ์ อ.นครชัยศรี จ. นครปฐม สำเร็จเรียบร้อยและส่งพระถึงวัดเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งข้าพเจ้าได้สร้างโรงมุงหลังคาสังกะสี เป็นที่ประดิษฐานพระบางองค์นี้ไว้เป็นการชั่วคราว กะไว้ในใจว่าเมื่อมีกำลังทุนทรัพย์เมื่อใดจึงจะสร้างวิหารประดิษฐาน เป็นการถาวร ทั้งคุณนิธิมาก็ปวารณาที่ปิดทองคำเปลวถวายให้ด้วย เมื่อเริ่มดำเนินการสร้างวัด จำเป็นต้องติดต่อกับบุคคลและหน่วยงานต่างๆ จึงต้องมีตราวัดเป็นสัญลักษณ์ ข้าพเจ้าจึงถือนิมิตหมายเอาพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นศุภสิรินิมิตมงคลตลอด ประมาณเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ พันเอกอัธยา สุคนธสิงห์ ได้มาพบกับข้าพเจ้าที่วัดทั้งหารือว่า มีกุศลศรัทธาจะสร้างถาวรวัตถุถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ณ วัดอาจาโรรังสีแห่งนี้ข้าพเจ้าจึงปรารภเรื่องวิหารประดิษฐานพระบางที่ถาวร เพื่อพุทธศาสนิกชนจะได้กราบไหว้สักการบูชา ทั้งให้เป็นศรีสง่าแก่วัดอีกด้วย เพราะถือว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญมาแต่เริ่มก่อตั้งวัดจนเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับมา พันเอกอัธยา ก็สนับสนุนให้ข้าพเจ้าดำเนินการทันที ในเรื่องรูปแบบและขนาด ก็สุดแล้วแต่ข้าพเจ้าจะเห็นสมควร พร้อมกับปวารณาทุนทรัพย์ เพื่อการนี้จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ข้าพเจ้าก็รับที่จะฉลองศรัทธา ตราบจนเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย ขนาดกว้าง x ยาว = ๓.๔๓ x ๕.๗๕ เมตร อาคารหลังนี้ไม่มีช่อฟ้า มีใบระกาน่องสิงห์เรียงลำดับขึ้นไปรับยอดแหลมของจั่วลายดอกบัวลักษณะแว่นเวียนเทียน หางหงส์แบบหัวนาค บัวหัวเสาปูนปั้นกาบพรหมศร มีลายคูหาประกอบ ๓ ด้าน หน้าบันทั้งสองด้านจับเหลี่ยมปั้นปูนลายเส้นรัศมีครึ่งวงกลม (ลายก้านตาล) ตรงกลางรัศมีปั้นปูนอักษรไขว้ย่อ อส ทรงดอกบัวตูม ด้านทิศเหนือปั้นปูนจารึกข้อความ วิหารพระบาง-๑๐๐ปี ปู่เทสก์ เทสรังสี-สุคนธสิงห์ ด้านทิศใต้ สุคนธสิงห์ พ.ศ.๒๕๔๕ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเซรามิคเอ็กซ์เซลลาสีแดง เพดานทำด้วยไม้ฝาตราช้างของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ภายในอาคารประดับลวดลายดวงดาวเพดาน และปีกค้างคาวปิดทองร่องกระจก พื้นวิหารปูด้วยหินแกรนิต โดยศรัทธาของคุณกิตติ รุ่งเรืองระยับกุล พร้อมครอบครัวจัดมาถวาย รูปสิงห์เขมรบนหัวเสาบันไดทางขึ้นทั้งสองข้าง คณธนัญ โกศัลวัฒน์ เป็นผู้จัดหามาถวาย การก่อสร้างสิ้นทุนทรัพย์ ๒๑๐,๔๗๕ บาท เมื่อ พ.อ. อัธยา สุคนธสิงห์ ทราบค่าใช้จ่ายที่แท้จริง ก็มีศรัทธาปวารณาถวายให้จนครบจำนวน ส่วนกระเบื้องมุงหลังคาและไม้ฝ้า เพดานนั้นเป็นศรัทธาของคุณสมเกียรติ ปานพูนทรัพย์ พร้อมญาติมิตร ถวายมาทั้งหมด
|
|
|
หลวงพ่อพระบาง
หลวงพ่อพระบาง เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ หรือห้ามสมุทรก็เรียกพระพุทธรูป ปางนี้เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของนครหลวงพระบาง สปป. ลาว เรียกกันว่า พระบาง และเป็นที่ทราบกันดีว่าชื่อเมือง หลวงพระบาง นั้น มาจากพระพุทธรูปองค์นี้ ในสมัยที่พระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จำพรรษาอยู่วัดอรัญญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย คุณย่าของโยมธเนตร เอียสกุล (กิมก่าย) ซึ่งขณะนั้นมีภูมิลำเนา อยู่ในนครเวียงจันทร์ สปป.ลาว ได้พระบาง (จำลอง) มาถวายหลวงปู่ ๑ องค์ ท่านหลวงปู่เก็บรักษาและบูชามาโดยตลอด ทั้งได้กล่าวยกย่องถึงพุทธคุณของ พระพุทธรูปองค์นี้อยู่เสมอๆ ต่อมาคณะศิษย์ ได้ปวารณาขออนุญาตสร้างพระบาง ขนาดความสูง ๑๗๕ ซม. (เฉพาะองค์พระ) ซึ่งเท่ากับความสูงของท่านหลวงปู่ โดยขยายแบบจากองค์เดิมเพื่อประดิษฐาน ณ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย วัดพระธาตุเขาน้อย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี และวัดถ้ำขาม จ.สกลนคร แห่งละ ๑ องค์ ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว โดยมีข้าพเจ้าเป็นผู้ดำเนินการฉลองศรัทธาคณะเจ้าภาพ ตั้งแต่ก่อนท่านหลวงปู่จะมรณภาพ | |