สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
วัดอาจาโรรังสี
บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐
โทร. ๐-๔๒๙๘-๑๐๘๗

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ดับขันธ์วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย
พุทธศักราช ๒๕๓๗

       

หลวงพ่อพระพุทธสัมฤทธิ์พิชิตมาร

อาคารพิพิธภัณฑ์ ๑๐๐ ปี

ประวัติหลวงปู่เทศก์

ธรรมเทศนาของ หลวงปู่เทศก์

จดหมายจากสมเด็จพระสังฆราชกับหลวงปู่เทสก์

หลวงพ่อพระพุทธสัมฤทธิ์พิชิตมาร

อาคารพิพิธภัณฑ์ ๑๐๐ ปี

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ห้องภาวนาธรรม

สมเด็จพระสังฆราชกับหลวงปู่เทสก์

           
              สนทนาธรรมกับลูกศิษย์
      โดย พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร
                วัดอาจาโรรังสี
            
          
       
                

 


เกียรติบัตรประกาศเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔

 

พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร
รับพัด สธจ.ดีเด่น
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔




พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร
รับพัด สธจ.ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
( สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ )
ซึ่งรับ ณ วัดพิชยญาติการาม
เมื่อ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔





พระอธิการทรงวุฒิ  ธฺมมวโร  
ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริม
การปฏิบติธรรม
ณ พลับพลามณฑลพิธี
ท้องสนามหลวง 
วันที่  ๑๘  พฤษภาคม  ๒๕๕๖

 


 

แจ้งข่าวการกุศล
เรื่องการก่อสร้างกำแพงวัด
ตั้งแต่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๖

บันทึกเล่าเรื่อง...เที่ยวเมืองพม่า
โดย พระอธิการทรงวุฒิ  ธมฺมวโร
วัดอาจาโรรังสี

 เมื่อข้าพเจ้าไปเฝ้าสมเด็จพ่อ
ครั้งที่ ๔

โดย พระอธิการทรงวุฒิ  ธมฺมวโร
วัดอาจาโรรังสี

                 
       
         
      
            
 

       

วัดอาจาโรรังสี ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๙ หมู่ ๔ บ้านคำข่า ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เริ่มสร้างเมื่อต้นปี พ.. ๒๕๔๐ โดยราษฎรบ้านคำข่า และหมู่บ้านใกล้เคียง ได้นิมนต์พระอาจารย์ ทรงวุฒิ  ธมฺมวโร มาพักปฏิบัติธรรมและนำพาศรัทธาพุทธศาสนิกชนก่อสร้างเสนาสนะ พร้อมอบรมธรรมปฏิบัติ ในที่ดินสาธารณประโยชน์(ป่าช้า) บ้านคำข่า เป็นปฐมบท ต่อมาได้รับอนุญาตจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ใช้ที่ดิน ( ... -๓๑ ) ที่ ๓/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๒  เมษายน พ.. ๒๕๔๒  จำนวนเนื้อที่  ๑๒ ไร่  ๒  งาน  ๑ ตารางวา  เพื่อการสร้างวัด ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดจากกรมการศาสนาเมื่อวันที่  ๑๙ พฤศจิกายน พ..๒๕๔๒  และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อวันที่  ๒๘  ธันวาคม  พ.. ๒๕๔๓  

- นามวัด “ อาจาโรรังสี ” ได้รับประทานจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ 

       - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว* มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเขตวิสุงคามสีมา แก่วัดอาจาโรรังสี เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้ทำการปักหมายเขตวิสุงคามสีมาเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้ทำการผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ 

 

พระอธิการทรงวุฒิ

 

ศาลาฉัน

เสนาสนะและถาวรวัตถุที่เป็นหลักฐานที่สร้างในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด คือ 
๑. อุโบสถ (พ.ศ. ๒๕๔๖) คอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร (รวมลานโดยรอบพร้อมกำแพงแก้ว กว้าง ๓๖ เมตร ยาว ๓๖ เมตร) 
๒. ศาลาทรงไทย (พ.ศ. ๒๕๔๘) ริมสระน้ำ หน้าอุโบสถ คอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๓ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๒ หลัง 
๓. กุฏิถาวร (พ.ศ. ๒๕๔๒) กว้าง ๕ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง 
๔. กำแพงวัด (พ.ศ. ๒๕๔๑)คอนกรีต ก่ออิฐ ความยาว ๔๔๐ เมตร 
๕. ห้องสุขา (พ.ศ. ๒๕๔๙) จำนวน ๔ ห้อง 
๖. อาคารธรรมรังสี (พ.ศ.๒๕๔๗) คอนกรีตเสริมเหล็ก สองชั้น กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ ม. 


* พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

๗. ถังน้ำประปา ทรงแชมเปญ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ความจุ ๒๐,๐๐๐ ลิตร จำนวน ๒ ถัง 
๘. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (พ.ศ. ๒๕๕๘) กว้าง ๕ เมตร ยาว ๒๗๒ เมตร หนา ๐.๒๐ เมตรโดยศรัทธาของ คุณสมชาย-คุณอัญชลี ตวงทวีทรัพย์ 
 



    เสนาสนะและถาวรวัตถุที่สร้างในที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านคำข่า คือ 

๑. อาคารพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ครบรอบ ๑๐๐ ปี หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พ.ศ. ๒๕๔๕) เป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย สองชั้น กว้าง ๑๐.๕๐ เมตรยาว ๒๓.๕๐ เมตร 
๒. อาคารธรรมานุสรณ์ ๙ รอบนักษัตร (๑๐๘ปี) หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พ.ศ. ๒๕๕๓) เป็น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย สองชั้น ขนาดกว้าง ๑๖.๖ เมตร ยาว ๓๗.๘ เมตร 
๓. ศาลาพฤษภ-กาสรรำลึก (พ.ศ.๒๕๕๗) เป็นศาลาคอนกรีตผสมไม้ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๔ เมตร 
๔. กุฏิสงฆ์ถาวร (พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๓) จำนวน ๑๘ หลัง 
๕. ศาลาการเปรียญเทสรังสีรำลึก (พ.ศ. ๒๕๔๐) คอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๓๐ เมตร 
๖. อาคารรับรอง อาศรมจันทรังสี (พ.ศ.๒๕๔๑) เป็นอาคารครึ่งตึก ครึ่งไม้ ๒ ชั้น กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๕ เมตร 
อาคารรวมจิต (พ.ศ. ๒๕๖๐) เนื่องจากอาศรมจันทรังสี ชำรุดเพราะปลวกกัดกิน จึงได้รื้อ ออกแล้วสร้างใหม่ เป็นอาคารคอนกรีตเสเริมเหล็กสองชั้น กว้าง ๑๐.๐๐ เมตร ยาว ๑๕.๐๐ เมตร เสร็จแล้วให้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า อาคารรวมจิต (พ.ศ. ๒๕๖๐) 
๗. หอสวดมนต์และห้องสมุด (พ.ศ. ๒๕๔๒) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สองชั้น กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ๘. หอระฆัง (พ.ศ. ๒๕๔๒) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๒.๕๐ เมตร สูง ๙.๐ เมตร 
๙. ศาลาศรัทธาดำริ(พ.ศ.๒๕๔๕)อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย กว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร 
๑๐ศาลาชนะมาร(พ.ศ.๒๕๔๕) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร 
๑๑วิหารพระบาง (พ.ศ. ๒๕๔๕) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย กว้าง๓.๕ เมตร ยาว ๖ เมตร 
๑๒ภัณฑาคาร(พ.ศ. ๒๕๔๙) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร 
๑๓อาคาร สิ้นโลก เหลือธรรม (พ.ศ. ๒๕๕๐) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น กว้าง 
๙.๒๗ เมตร ยาว ๑๑.๗๔ เมตร 
๑๔. ศาลาทรงไทย (๙ มิถุนายน ๒๕๔๙) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๓ เมตร ยาว ๕ เมตร 
๑๕.ฌาปนสถาน เมรุและศาลาบำเพ็ญกุศล (พ.ศ. ๒๕๔๐) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 
- ปฏิสังขรณ์ ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ขยายศาลาไปทางทิศตะวันตกอีก ๔.๐๐ เมตร พร้อม ต่ออาสน์สงฆ์ออกไปอีก ๔.๐๐ เมตร มุงหลังคาใหม่ด้วยแผ่นเมททอลชี ปรับพื้นปูใหม่ ด้วยแกรนิตโต ให้ชื่อศาลาหลังนี้ว่าศาลา “พุทโธ” 
- ย้ายโครงหลังคาศาลาหน้าเมรุไปทางทิศตะวันออก ปรับปรุงใหม่ ทำพื้นหินขัด เป็นศาลา กว้าง ๙.๑๕ เมตร ยาว ๑๒.๗๕ เมตร ให้ชื่อว่า ศาลา “ธัมโม” 
- ปรับปรุงลานรอบเมรุ ถมหินลูกรัง เทพื้นคอนกรีต เสริมเหล็ก กว้าง ๒๖.๓๗ เมตร ยาว ๓๘.๓๐ เมตร 
๑๖. ห้องสุขา (พ.ศ. ๒๕๕๕) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๙ ห้อง พร้อมสุขาผู้สูงอายุและ คนพิการอีก ๑ ห้อง ได้รับการถวายป้ายรับรองมาตรฐานส้วมสาธารณะในวัดที่ผ่าน มาตรฐาน 
ระดับประเทศ (HAS) 
๑๗. สุขาสามัคคี (พ.ศ. ๒๕๔๖) จำนวน ๒๒ ห้อง 
๑๘. กำแพงวัด (พ.ศ. ๒๕๕๗) เป็นกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๒.๐ เมตร ความยาวทั้งสิ้น ๑,๐๐๕.๐๐ เมตร 
-พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้สร้างกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้านทิศตะวันออก ความยาว ๓๕๑ เมตร และติดตั้งใบเสมาคอนกรีตเสริมเหล็ก เหนือคานบน ตลอดแนวกำแพง พร้อมทาสีขาว 
๑๙. ถังรองรับน้ำฝน (พ.ศ. ๒๕๕๔) คอนกรีตเสริมเหล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เมตร สูง ๖ เมตร จำนวน ๔ ใบ 
๒๐. ถังรองรับน้ำฝน (พ.ศ. ๒๕๕๓) คอนกรีตเสริมเหล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เมตร สูง ๔.๕ เมตร จำนวน ๑ ใบ 
๒๑. ถังรองรับน้ำฝน (พ.ศ. ๒๕๔๐) คอนกรีตเสริมเหล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เมตร สูง ๓ เมตร จำนวน ๔ ใบ 
๒๒ถังเก็บน้ำฝน (พ.ศ. ๒๕๔๐) คอนกรีตเสริมเหล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร สูง ๓ เมตร 
จำนวน ๒ ใบ 
๒๓. กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก (พ.ศ. ๒๕๕๗) สูง ๒.๐ เมตร ความยาว ๑,๐๐๕ เมตร 
๒๔. โรงครัวระดับมาตรฐาน (พ.ศ. ๒๕๕๙) โดยศรัทธาของคุณสมชาย-คุณอัญชลี ตวงทวีทรัพย์ 
๒๕. อาคารรับรองผู้ปฏิบัติธรรม (อาคารพักจิต พ.ศ. ๒๕๕๙) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สอง ชั้น กว้าง ๑๒.๐ เมตร ยาว ๑๕.๐ เมตร โดยศรัทธาคุณสมชาย-คุณอัญชลี ตวงทวีทรัพย์ ร่วม ด้วยทุนของทางวัด 
๒๖. อาคารรับรองพระเถระ “รัตนะรังสี” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย สองชั้น 
กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑ 
๒๗. ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้สร้างซุ้มประตูคอนกรีตเสริมเหล็กอีก ๒ ซุ้ม ด้านทิศใต้ (ประตู ๒) 
“อมรรักษา” และด้านทิศเหนือ (ประตู ๓) “เทว่าภิรมย์” 
๒๘. ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้สร้างศาลาอเนกประสงค์ ครึ่งตึกครึ่งไม้ อีก ๒ หลังคือ “จันทน์กะพ้อ 
สังคีต” กว้าง ๖ เมตร ยาว ๗ เมตร และ “สารภีประดิษฐ์” กว้าง ๒.๕ เมตร ยาว ๔.๕ เมตร 

พระประธานอุโบสถ

อุโบสถ ด้านข้าง

อาคารพิพิธภัณฑ์ 100 ปี หลวงปู่เทสก์


 
ตำแหน่งเจ้าอาวาส พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสรูปแรก ตามหนังสือตราตั้งเลขที่ ๘ / ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ 

สรุป สถานภาพของวัดอาจาโรรังสีและเจ้าอาวาส 

๑. สมเด็จพระญาณสังวร** สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดประทานนาม “ อาจาโรรังสี ” เป็นชื่อวัด เมื่อ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ 
๒. ได้รับอนุญาตจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ใช้ที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๓๑) ที่ ๓/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๒ งาน ๑ ตารางวา เพื่อการสร้างวัด 
๓. กรมการศาสนา อนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ 
๔. กรมการศาสนา อนุญาตให้ตั้งวัด เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ 
๕. ได้รับพระราชทานเขตวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ 
๖. กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาให้วัดอาจาโรรังสีเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ ตามประกาศนียบัตร ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ 
๗. มหาเถรสมาคมมีมติให้ วัดอาจาโรรังสี เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต) แห่งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๑ ( ครั้งที่ ๑๐ / ๒๕๕๑ ) 
๘. กระทรวงศึกษาธิการให้วัดอาจาโรรังสีเป็น ศูนย์เสมาส่งเสริมศีลธรรมประจำเขตพื้นที่การศึกษา สกลนครเขต ๒ ตามหนังสือที่ ศธ. ๐๔๑๔๓/๑๗๒๘ ลงวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ 

** สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร 
๙. พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร เจ้าอาวาสวัดอาจาโรรังสี ได้รับแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการศูนย์- 
อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาจังหวัดสกลนคร ตามคำสั่งจังหวัดสกลนคร ที่ ๘๗๒/๒๕๕๔ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาจังหวัดสกลนครลงวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ 
๑๐. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพิจารณาคัดเลือก วัดอาจาโรรังสี เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ ตามประกาศเกียรติบัตร ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ 
๑๑. พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร เจ้าอาวาสวัดอาจาโรรังสี ได้รับการถวาย ป้ายรับรองมาตรฐานส้วมสาธารณะในวัด ที่ผ่านมาตรฐานระดับประเทศ (HAS) จากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามสำเนาหนังสือที่ สน.๐๒๒๗.๐๗๑/๔๕๖ ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 
๑๒. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ*** ทรงชื่นชม ปีติยินดี ที่พระอธิการทรงวุฒิ จัดการบรรพชา-อุปสมบทหมู่ เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาแม่ฟ้าหลวงของปวงไทยฯ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล.๐๐๐๔.๑/๓๑๒๑๑ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ 
๑๓. พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร เจ้าอาวาสวัดอาจาโรรังสี ได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนา ให้เป็น ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม เข้ารับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา***** สยามบรมราชกุมารี ณ พลับพลามณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ 
๑๔. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดประทานผ้า 
กฐินประจำปีพุทธศักราช๒๕๕๖ เพื่อทอดถวาย ณ วัดอาจาโรรังสี ในวันที่ ๒๗ 
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ (ตามเอกสาร ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖) 

๑๕. เนื่องในวโรกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว**** ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตั้งสมณศักดิ์ให้- 

*** สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง **** พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ***** สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
 
พระอธิการทรงวุฒิ ธมฺมวโร เป็นพระครูสัญญาบัตรฝ่ายวิปัสสนาธุระ ชั้นโท ในราชทินนาม “พระครูภาวนาวรวุฒิ” 

การก่อสร้างวัด

       อนึ่ง เมื่อแรกเริ่มสร้างวัดในสถานที่แห่งนี้ ได้มีผู้ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนา นำเรื่องฟ้องศาลปกครอง กล่าวโทษนายอำเภอพรรณานิคม ละเลยต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ปล่อยให้ข้าพเจ้ากับพวกบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์(ป่าช้าบ้านคำข่า)สร้างวัด ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ ให้นายอำเภอพรรณานิคมคืนสภาพเดิมแก่ที่ดินแปลงนี้ (หมายความว่าบังคับให้ข้าพเจ้ารื้อถอนถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาออกจากที่ดินแปลงนี้) นายอำเภอพรรณานิคมมีสิทธิ์ที่จะอุทธรณ์ แต่หากระทำไม่ ทั้งนำคำพิพากษาดังกล่าวมาแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบเมื่อใกล้สิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ ครั้นข้าพเจ้าอุทธรณ์ร้องสอดไป ศาลปกครองชั้นต้นจึงไม่รับคำอุทธรณ์ ข้าพเจ้าจำต้องอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุด จนถึงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง 

     อนึ่ง ระหว่างการอุทธรณ์นั้น ได้ดำเนินการขออนุญาตใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์กับกระทรวงมหาดไทย เพื่อประกอบศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา ก็ได้รับอนุญาต ตามหนังสือที่ มท. ๐๕๑๑.๓ / ๑๗๕๗๒ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ใบอนุญาต
ตามความในมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เลขที่ ๑/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ (ความจริงเคยติดต่อขออนุญาตใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์กับหน่วยงานของรัฐมาแล้วตั้งแต่เริ่มสร้างวัดปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็ได้รับคำตอบแต่เพียงว่าไม่สามารถทำได้ จนกระทั่งศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษา) ทั้งท้ายหนังสือฉบับนั้นยังมีข้อความกำชับว่า “และจังหวัดต้องดำเนินการถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงดังกล่าวเพื่อนำไปจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการที่ดินของรัฐสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์จริงของวัดอาจาโรรังสี โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาการอนุญาต (๕ ปี )” 


จากคำกำชับตามความในหนังสือฉบับดังกล่าวนั้น ข้าพเจ้าจึงดำเนินการติดต่อกับทางราชการ(จังหวัดสกลนคร) เพื่อขออนุญาตใช้ที่ดินแปลงนี้จากกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ให้ถูกต้องตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดให้ทำได้ ทั้งพยายามติดตามทวง
ถามเป็นระยะๆ หลายครั้ง เคยชวนพลเอกอัธยา สุคนธสิงห์ ไปพบผู้ว่าราชการจังหวัด
เพื่อติดตามเรื่องนี้ถึง ๒ ครั้ง (สองสมัยผู้ว่าราชการจังหวัด) ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า ข้าพเจ้าจึงท้อใจ ทอดธุระเรื่อยมาเป็นเวลานานถึง ๘ ปี 
       
       กระทั่งเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามา
บริหารประเทศ นับเป็นโอกาสอันดี ข้าพเจ้าจึงนำเรื่องนี้เข้าพบ คณะกรรมการ คสช. จังหวัดสกลนคร เพื่อขอความช่วยเหลือ ก็ได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดี ความจริงจึงประจักษ์ชัดแจ้งว่า ที่ดินแปลงนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรฯ แต่กระทรวงมหาดไทยมาออกเอกสารสิทธิ์(หนังสือสำคัญที่หลวง)ทับซ้อน คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) จึงเรียกคืนมาอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรฯ เพื่อให้วัดอาจาโรรังสีใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม 

     สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดสกลนครจึงนำเรื่องดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุม- คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(คปก.) เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ขออนุมัติดำเนินการปฏิรูปที่ดินในที่สาธารณประโยชน์แปลง “ป่าช้าบ้านคำข่าสาธารณประโยชน์” บางส่วนที่พลเมืองเลิกใช้ร่วมกันแล้ว เนื้อที่ประมาณ ๔๔ – ๐ - ๖๔ ไร่ ในท้องที่ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร(ปัจจุบันเป็นพื้นที่การใช้ประโยชน์ของวัดอาจาโรรังสี) และคณะกรรมการมีมติอนุมัติ (ปรากฏตามสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๕๗ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗) 


     สรุปประเด็นคือ ที่ดินแปลงดังกล่าวพ้นจากสภาพการเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์
(ที่ต้องอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย) มาเป็นที่ดินของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรม (อยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรฯ) เพื่อให้วัดอาจาโรรังสีใช้ในการประกอบศาสนกิจสืบต่อไป 


     จากนั้น ข้าพเจ้าจึงทำโครงการขออนุญาตใช้ที่ดินของทางราชการเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เสนอไปยังจังหวัดสกลนคร เพื่อนำเสนอคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(คปก.) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่องก็เงียบหายไปอีก 

     จนกระทั่งกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๙ จึงได้ชวนพลเอกอัธยา สุคนธสิงห์ ไปติดตามสอบถามความคืบหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร และที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร เรื่องดังกล่าวจึงเคลื่อนไหวอีกครั้ง จนกระทั่งจังหวัดสกลนคร
มีหนังสือที่ สน. ๐๐๑๑/๓๓๑๔๑ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เรียน เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อขอความเห็นชอบอนุญาตให้วัดอาจาโรรังสีใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมโดยไม่มีการเรียกเก็บค่าตอบแทน 


     ดำเนินการขออนุญาตมาแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้มีโอกาสไปประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาการขออนุญาตใช้ที่ดิน สปก. ณ ห้องประชุมของกระทรวงเกษตรฯ ช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ถึงสองครั้ง 

      จนกระทั่งวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จึงได้รับแจ้งว่า สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอนุญาตให้วัดอาจาโรรังสีใช้ที่ดินเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เนื้อที่ ๔๔ – ๐ - ๖๔ ไร่ ตามหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภคและกิจการอื่นๆ ในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีวัด
หรือสำนักสงฆ์ได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินเนื้อที่เกินกว่า ๑๕ ไร่ (ส.ป.ก. ๔-๓๑ ข.) ที่ ๑๖๖/๒๕๖๓ โดยไม่เรียกเก็บค่าตอบแทน และไม่มีกำหนดเวลา (เอกสารลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓) 

ขออนุโมทนาขอบคุณ ฯพณฯ นายแพทย์ ไพโรจน์ นิงสานนท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช.), สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดสกลนคร และ ฯพณฯ ท่าน ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ที่ช่วยให้เรื่องนี้สำเร็จสมปรารถนา แต่ที่ข้าพเจ้าดีใจมากที่สุด คือสามารถรักษาสมบัติของพระพุทธศาสนา(วัดอาจาโรรังสี) อันเกิดจากศรัทธาของญาติโยมผู้มีอุปการคุณไว้ได้ ขอทุกท่านโปรดตั้งจิตอนุโมทนาความสำเร็จนี้ ด้วยความพร้อมเพรียงกันเทอญฯ 

      อนึ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยที่จำเป็นต้องกล่าวเรื่องราวความเป็นมาทั้งหมดพอสังเขปไว้เป็นหลักฐานของประวัติวัดนี้ หาไม่แล้วความจริงอาจถูกบิดเบือนหรือเลือนลบไปในวันข้างหน้า ที่สำคัญ มิได้มีเจตนาจะให้กระทบกระเทือนถึงผู้หนึ่งผู้ใดในทางเสียหาย เพียงแต่ขอฝากเป็นอุทาหรณ์ และแนวทางปฏิบัติ แก่ผู้มีความระลึกสำนึกถึงบุญคุณของประเทศไทยแผ่นดินเกิด อันมีสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นหลักชัยและหลักใจของประชาชน ให้วัฒนาถาวรมั่นคงสืบต่อไป 


                                                 ( พระครูภาวนาวรวุฒิ
                                                  เจ้าอาวาสวัดอาจาโรรังสี 
                                                    ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ 

วิหารหลวงพ่อบาง

 

ประตูอุโบสถ


ประตูวัดด้านนอก

ศาลาอเนกประสงค์

ศาลาฉัน

 

       เริ่มการก่อสร้างวัด
       ดังนั้น   ศาลาหลังเดิมซึ่งให้ชื่อว่า    “ศาลาเทสรังสีรำลึก”    ที่ตั้งใจจะใช้เป็นศาลาเอนกประสงค์ในการบำเพ็ญกุศลศพ
จึงแปรสภาพเป็นศาลาการเปรียญไปโดยปริยาย ทั้งได้ปรารภจะปลูกกุฏิขึ้นให้เสร็จทันจำพรรษาสัก ๒ หลัง คุณจรูญ ทรายสุวรรณ
พร้อมครอบครัวและญาติมิตร  จ.ชลบุรี   เมื่อทราบข่าว   ก็มีจิตศรัทธาส่งปัจจัยให้   ๑๖๕,๐๐๐.๐๐ บาท  โดยขอให้ปลูกกุฏิให้
๑   หลัง  (กุฏิเบอร์ ๑)  คุณแม่มะลิ  ด่านวิรุฬหวณิช   พร้อมบุตรหลาน   กรุงเทพมหานคร    มอบให้อีก  ๑๓๐,๐๐๐  บาท
สำหรับปลูกกุฏิ  ๑  หลัง (กุฏิเบอร์ ๓)     ต่อมาคุณธเนตร  เอียสกุล-คุณกิมเตียว  เอียสกุลและบุตร  คือ ฯพณฯ   รัฐมนตรีฉัตรชัย  เอียสกุล  และ ส.ส  เฉลิมชัย  เอียสกุล   มอบเงินสดให้อีก  ๑๐๕,๐๐๐ บาท   สำกรับปลูกกุฏิ  ๑ หลัง   (กุฏิเบอร์ ๒)   และยังบริจาคกระเบื้องปูพื้นให้อีก  ๕๔๐ ตารางเมตร  ปูนซีเมนต์ตราดอกบัว  ๖๐  ถุง   กระเบื้องปูพื้นดังกล่าวได้ใช้ปูพื้นศาลาการเปรียญและกุฏิต่าง ๆ  จนหมดนิมิตรหมายที่ดี
       ระหว่างทำการก่อสร้างกุฏิทั้ง ๓ หลัง  ยังไม่แล้วเสร็จ   (ก่อนวันเข้าพรรษาประมาณ ๑ เดือน)  กุลบุตร  ลูกหลานบ้านคำข่ามีศรัทธามาขอเข้ารับการอบรมเพื่อบรรพชา  อุปสมบท  จำนวน  ๑๐ คน  ข้าพเจ้าก็รับไว้ด้วยความเต็มใจ   แม้สภาพโดยทั่วไปจะยังไม่พร้อม  โดยเฉพาะกุฏิที่อยู่อาศัย  น้ำอุปโภคบริโภค   ตลอดจนห้องสุขา  เป็นต้น   แต่ด้วยความที่เห็นว่าเขาเหล่านั้นมีศรัทธาและเป็นสิ่งที่มิเคยเกิดมีขึ้นมาก่อนในหมู่บ้านคำข่า   นับเป็นนิมิตหมายที่ดีทั้งได้ทำความตกลงกับเขาเหล่านั้นเรื่องระเบียบ 
กฎ  กติกาต่างๆ   ที่จะต้องปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของพระกรรมฐานที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์พาถือปฏิบัติมาโดยเคร่งครัด  โดยเฉพาะปฏิปทาของหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  เช่นการฝึกอบรมเป็นผ้าขาวก่อนบวช  การรับประทานอาหารหนเดียว  การปฏิบัติธุดงควัตร  การสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า-ค่ำ  การฟังพระธรรมเทศนาอบรมภาวนาเป็นนิตย์   เขาเหล่านั้นก็ยินยอมพร้อม ที่จะปฏิบัติตามทุกประการ  แม้ว่าสถานที่อยู่จะอัตคัตขัดสน   ดังที่ได้เป็นอยู่ในขณะนั้น  ทุกคนต้อง
อาศัยทำกิจกรรมทุกอย่างร่วมกันที่ศาลาการเปรียญ  เช่น  ฉันอาหาร  สวดมนต์  ทำวัตรเช้า-ค่ำ  ฟังพระธรรมเทศนา  ปฏิบัติภาวนา  แม้กระทั่งพักผ่อนหลับนอนก็ที่ศาลาเทสรังสีรำลึกหลังนี้

       สายธารศรัทธาสนับสนุน
       เมื่อญาติโยมที่เคารพนับถือซึ่งกันและกันทราบข่าวความขัดข้องดังกล่าว 
       ก็มีศรัทธามอบทุนมาให้สร้างกุฏิพระจำนวน ๘ หลัง  ดังนี้
  ๑    นายจักรนิศิต-ศันศนีย์  พานิชสวัสดิ์   พร้อมครอบครัว  กรุงเทพฯ   จำนวนเงิน  ๒๐,๐๐๐ บาท  (กุฏิ หลักแหล่ง)  เบอร์ ๔
  ๒    นายชนะชัย  เศรษฐโชค  กรุงเทพฯ  จำนวนเงิน  ๓๐,๐๐๐  บาท   (กุฏิจริยาเศรษฐโชค)  เบอร์ ๕
  ๓    คุณนิธิมา  สุรัติอันตรา  กรุงเทพฯ   จำนวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท  (กุฏิโรงหล่อพระพุทธภัณฑ์ 
           เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่  คุณสุพจน์  สุรัติอันตรา) เบอร์ ๖
  ๔    คุณโยมศิริวรรณ  ศรีสายเชื้อ  จ.ยโสธร  จำนวนเงิน ๓๐,๐๐๐  บาท  (กุฏิเทสก์รำลึก) เบอร์ ๗
  ๕    นายจรูญ-นางดวงพร  ทรายสุวรรณ จ.ชลบุรี  จำนวนเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท (กุฏิเทสกบูชา)  เบอร์ ๘
  ๖    นางสาวปภาธรา-นางสาวอภิรตี-ด.ญ.กิ่งกาญจน์-ด.ช.เดชประยุทธ   ทรายสุวรรณ
           จำนวนเงิน  ๒๕,๐๐๐  บาท  (กุฏิเทสรังสี) เบอร์ ๙
  ๗    นางสาวพจนีย์  ทรายสุวรรณ  จ.ชลบุรี  จำนวนเงิน  ๒๕,๐๐๐ บาท  (กุฏิเทสกศิริ)  เบอร์ ๑๐
  ๘    คุณโยมวณี  ทรายสุวรรณ  พร้อมบุตรธิดา  จ.ชลบุรี  จำนวนเงิน  ๒๕,๐๐๐ บาท  (กุฏิธรรมบูชา)  เบอร์ ๑๑

       วัดอาจาโรรังสี    ตั้งขึ้นและจะพัฒนาถาวรต่อไป  ก็ต้องอาศัยแรงศรัทธาสามัคคีของพุทธศาสนิกชน  ขณะเดียวกันพระสงฆ์สามเณรที่เข้ามาพำนักอาศัยในสถานที่นี้ก็ต้องเป็นผู้ปฏิบัติตามธรรมวินัย  คำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นเจ้าของพระศาสนาด้วย    ข้าพเจ้าพยายามยึดถือหลักของความอนุเคราะห์สงเคราะห์เกื้อกูลซึ่งกันเป็นปัจจัยที่สำคัญ
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับวัดที่บรรพบุรุษถือปฏิบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล

ป้ายหน้าประตูวัด

 

ป้ายหน้าประตูวัด

       การขยายศาลาการเปรียญ  
       เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาเดือนกรกฎาคม  พ.ศ ๒๕๔๐
คณะศรัทธาญาติโยมทั้งทางไกลและใกล้  ต่างมาแสวงบุญบำเพ็ญกุศลตามพุทธศาสนประเพณีนิยมของชาวพุทธ   ที่นับถือเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐ 
ทั้งมีความเชื่อมั่นในกุศลผลบุญของการประกอบกรรมดี  ทั้งยอมรับผลกรรมชั่วอันจะนำตัว
ไปสู่อบายภูมิ  มี  นรก  เป็นต้น  ในกลุ่มพุทธศาสนิกชนเหล่านี้มีคณะของ  นาวาเอกหิรัญ  สตานนท์  พร้อมครอบครัวและญาติมิตร  ซึ่งเคารพนับถือเป็นศิษย์ในพระเดชพระคุณท่านหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  มานานนับสิบปี   ได้มาร่วมบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางศาสนาครั้งนี้ด้วย  และเห็นว่าศาลาเทสรังสีรำลึก  ที่ใช้เป็นศาลาการเปรียญอยู่ขณะนั้นคับแคบเกินไป 
จึงปวารณามอบทุนทรัพย์ใช้ในการขยายศาลาออกไปทางทิศเหนือ  ให้ได้ศาลาการเปรียญที่มีความกว้างและยาว  รวมทั้งศาลาการเปรียญหลังเดิมเป็น  ๒๐  เมตร  x ๓๐เมตร  
ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้  โดยอาศัยแรงงานราษฎรบ้านคำข่าให้ความช่วยเหลือ 
สิ้นค่าก่อสร้าง  ๒๘๘,๗๙๔  บาท   (สองแสนแปดหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยเก้าสิบสี่บาทถ้วน)   เงินจำนวนดังกล่าวได้มาจากผู้ที่มีจิตเป็นกุศลศรัทธาบริจาคสนับสนุนดังนี้

      -  นาวาเอกหิรัญ  สตานนท์      บริจาค  ๒๐๐,๐๐๐ บาท
      -  คุณกิตติ  รุ่งเรืองระยับกุล      บริจาค     ๔๐,๐๐๐ บาท       
      -  คุณโยมศิริวรรรณ  ศรีสายเชื้อ       บริจาค        ๕,๐๐๐ บาท
      -  คุณสุภาพ  ศรีพันธ์  พร้อมครอบครัว  บริจาคทำกันสาดอลูมิเนียมรอบศาลา

การเปรียญ ส่วนที่เหลือได้จากท่านผู้มีจิตศรัทธารายย่อยร่วมบริจาคสมทบมา 
ซึ่งข้าพเจ้าต้องขออภัยด้วยที่ไม่สามารถกล่าวนามท่านเหล่านั้นได้ทั้งหมด

      ในวันเข้าพรรษานี้  คุณกิตติ  รุ่งเรืองระยับกุล  พร้อมญาติมิตร  ได้ถวายผ้าป่าสามัคคี  เพื่อบำรุงวัด  ได้ทุน  ๕๘,๘๕๐ บาท  พร้อมทั้งปวารณาขอเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี 
ซึ่งกำหนดทอดถวายในวันที่ ๑๙  ตุลาคม  พ.ศ ๒๕๔๐  โดยมีอาจารย์อมร  รัตนะนาคินทร์
เป็นประธานในนามของคณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  และคุณกิตติ  ยังถวายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกลาง  ๑  ชุด   เครื่องขยายเสียงอย่างดีพร้อมลำโพงอุปกรณ์
ครบถ้วนอีก ๑  ชุด  อนึ่งปัจจัยผ้าป่าจำนวน  ๕๘,๘๕๐  บาท   จึงได้นำมาจัดสร้างห้องสุขาจำนวน  ๘  ห้อง  เพื่อให้ทันใช้ในเทศกาลออกพรรษา  และการถวายกฐินสิ้นค่าใช้จ่าย  จำนวน  ๘๑,๖๙๑ บาท  โดยมีคณะศรัทธาบริจาคสมทบคือ   ร้านแดงแหนมเนือง 
จ.หนองคาย  จำนวน  ๑๐,๐๐๐ บาท  พ.ต.ท วุฒิชัย-จินตนา  สงวนรักษ์  พร้อมครอบครัวและญาติมิตรจำนวนเงินรวม  ๘,๒๐๐ บาท

      นับแต่วัดอาจาโรรังสีแห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นมาในวันที่   ๒๖ เมษายน  พ.ศ. ๒๕๔๐  
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  และพระภิกษุสามเณร
ได้มาพำนักจำพรรษา ณ ที่นี้  ครั้งแรกในวันที่  ๑  กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐  คณะศรัทธาญาติโยมที่มีความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน  ทั้งใกล้และไกลโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่   เมื่อทราบข่าวต่างก็ทยอยกันมาเยี่ยมทั้งบริจาคจตุปัจจัยสมทบ   นอกเหนือที่กล่าวนามมาแล้วแต่เบื้องต้นอาทิ  คุณแม่ชั้น  แซ่เตีย  คุณบุรินทร์-คุณไขศรี  ตันไพบูลย์กุล  คุณสถิตย์-คุณสุนทรี  พงษ์ไพโรจน์  อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี  คือ คุณโกพิธ-คุณเพ็ญศรี  วารีรุทธเขต  พร้อมบุตรธิดา  เป็นต้น  สำหรับท่านอื่นๆ  อีกจำนวนมากที่ไม่สามารถออกนามได้ทั้งหมด  ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย  คุณชาลี  จึงรุ่งอรุโณทัย  เจ้าของและผู้จัดการโรงงานผลิตอิฐซีเมนต์บล๊อค   อ.บางปะหัน  จ. พระนครศรีอยุธยา  บริจาคอิฐซีเมนต์บล๊อค  ขนาดหนา  ๙ ซม จำนวน  ๒๐,๐๐๐ ก้อน  โดยได้รับความอนุเคราะห์จากโยมธเนตร  เอียสกุล   จัดรถขนส่งให้โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ  ทั้งสิ้น 
คุณชัยสิทธิ์-คุณรจนา  มโนชัย   ร้านศรีสุพรรณการช่าง    ตลาดบ้านธาตุสกลนคร   บริจาควัตถุก่อสร้างมูลค่า  ๕๐,๐๐๐  บาท   วัสดุเหล่านี้ก็นำมาใช้ในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ   งานปรับปรุงพื้นที่ถมดินได้รับ ความอนุเคราะห์อย่างดีจากโยมตาลคำ  ทิพย์สิงห์  และ 
สจ.สังคม  ทิพย์สิงห์  หจก.พรรณาร่วมมิตรที่บริจาคเป็นเงินก็นำมาแปรสภาพจัดการระบบไฟฟ้า  วางท่อประปาไปตามตำแหน่งต่างๆ   ที่เห็นว่าจำเป็นและยังสร้างห้องสุขาสำหรับพระ- เณร  ได้ใช้  ๒ ชุด  จำนวน ๔ ห้อง   ในส่วนที่บริจาคมาเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคก็
แจกจ่ายแบ่งปันใช้สอย  ขบฉัน  ตามควรแก่ฐานะ
 

พระปฐมพุทธปฏิมาประธาน
             สำหรับพระพุทธปฏิมาประธานประจำศาลาการเปรียญ  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย*  ขนาดหน้าตักกว้าง  ๑๙ นิ้ว 
คุณจรูญ  ทรายสุวรรณ  พร้อมครอบครัวสร้างถวาย  โดยนายช่างจุลนพ  นาคแก้ว  มีศรัทธาบริจาคปิดทองถวายเช่นกัน
             พระพุทธรูปปางมารวิชัยปิดทองอีกองค์หนึ่ง  มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว  ซึ่ง
ประดิษฐานอยู่คู่กันนั้น  คุณวิจิตร  มโนชัย  พร้อมญาติมีจิตศรัทธาสร้างถวาย
             ส่วนห้องกระจกที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น  นายช่างวิจิตร  ราศรี  อ.ท่าบ่อ  จ.หนองคายสร้างถวาย
             ประมาณปลายปี  พ.ศ. ๒๕๔๑  น.พ. ประโยชน์   ปรัชญาอาภรณ์  พร้อมครอบครัวมีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูปนาคปรก  ขนาดหน้าตักองค์พระกว้าง  ๒๙ นิ้ว  ปิดทองคำ  มีมูลค่าประมาณ  ๑๐๐,๐๐๐ บาทประดิษฐาน ณ  ศาลาการเปรียญ  และได้ถวายพระนามท่านว่า  “พระพุทธมงคลรังสี”
             หมายเหตุ (*)  พระพุทธรูปปางมารวิชัย  ขนาดหน้าตัก  ๑๙  นิ้ว  ปัจจุบันประดิษฐาน  ณ  อาคารหอสวดมนต์

ฌาปนสถาน  อนุสรณ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
             การก่อสร้างสถานที่เผาศพที่เรียกว่า  ฌาปนสถานจึงเริ่มลงมือในเดือนกรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๔๐  ซึ่งประกอบด้วย
เตาเผาศพเมรุทรงไทย  ขนาดกว้าง x ยาว = ๔ x ๘  เมตร  และศาลาบำเพ็ญกุศลทรงไทยขนาดกว้าง x ยาว  =  ๑๐ x ๑๒  เมตร  ซึ่งย้ายไปสร้างทางด้านทิศเหนือสุดเขตวัด  ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง  ๙๐๐,๐๐๐  บาท  (เก้าแสนบาทถ้วน)  เงินจำนวนนี้
ได้มาโดยเงินที่ญาติโยมมีจิตศรัทธาบริจาคร่วมงานบำเพ็ญกุศล  เมื่อคราวที่พระเดชพระคุณท่านหลวงปู่เทสก์   เทสรังสี  มรณภาพ  ณ  วัดถ้ำขาม  ซึ่งอนุมัติโดยมติที่ประชุมคณะกรรมการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณ เทสกเจดีย์ฯ  วัดถ้ำขาม 
เมื่อวันที่  ๑๔  มิถุนายน  พ.ศ ๒๕๔๐  ฌาปนสถานแห่งนี้สร้างเสร็จเรียบร้อย  เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐  และได้ให้ชื่อว่า “อนุสรณ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี”


     
การหล่อรูปพระมหาเถราจารย์
             ในปี พ.ศ ๒๕๔๐  มีคณะศรัทธาเป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือน  (โลหะ)  เท่าองค์จริงของพระบูรพาจารย์ ถวาย ดังนี้คือ
             ๒.๗.๑   ร้านแดงแหนมเนือง  จ.หนองคาย  เป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือนหลวงปู่มั่น  ภูริทัตโต  จำนวน ๑ องค์
             ๒.๗.๒  คุณจรูญ  ทรายสุวรรณ และครอบครัว  จ.ชลบุรี เป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  จำนวน ๒ องค์
             ๒.๗.๓  คุณวัชระ  ธีระรัตนางกูร และครอบครัว  จ.ระนอง  เป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร  จำนวน ๑ องค์
             รวมการหล่อรูปเหมือนพระมหาเถราจารย์ ๔ องค์  คิดเป็นมูลค่าองค์ละ  ๖๐,๐๐๐ บาท   ได้ทำพิธีเททองหล่อรูปพระมหาเถราจารย์ดังกล่าว  ณ วัดอาจาโรรังสี  เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือนอ้าย  ปีฉลู  ตรงกับวันที่  ๑๔  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๐  มีคณะศรัทธาพุทธศาสนิกชนมาร่วมพิธีเททองในวันนั้นเป็นจำนวนมาก

การก่อสร้างกุฏิ ซ่อมแซมเสนาสนะศาลาการเปรียญ (พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒)
             ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒  ทางวัดได้ก่อสร้างกุฏิและอาคารที่พักรับรองญาติโยมผู้มาแสวงบุญและปฏิบัติธรรม   ตลอดทั้งมีการบูรณะซ่อมแซมศาลาการเปรียญ   และกุฏิพักของสงฆ์ทุกสิ่งทุกอย่างในการก่อสร้าง  และการบูรณะซ่อมแซมสำเร็จได้ด้วยแรงศรัทธาของผู้มีจิตเป็นกุศลดังนี้
             -คุณสมบุญ-คุณสวัสดิ์  ภูขาว  พร้อมคุณจรัญ  อ.พูนทรัพย์  ภูขาว  บริจาคทรัพย์   
               จำนวนเงิน  ๓๐,๐๐๐  บาท   (สามหมื่นบาทถ้วน)   สร้างกุฏิพระ  (เบอร์ที่ ๑๒)
             -บุตรหลานคุณยายคำตัน  วรรณสวัสดิ์  ถวายบ้าน ๑ หลัง  เพื่อนำมาสร้างกุฏิอุทิศให้คุณยายคำตัน  วรรณสวัสดิ์  
               และบรรพบุรุษ  (กุฏิเบอร์ที่ ๑๓)
             -คุณพ่อสันต์-คุณแม่จรูญศรี  พานิชสวัสดิ์  พร้อมบุตร-ธิดา  สร้างกุฏิพระอุทิศให้บรรพบุรุษ ๑ หลัง (กุฏิเบอร์ที่ ๑๔)
             - คุณธานินทร์  พันธ์ประภากิจ  จากกรุงเทพฯ  บริจาคบ้านเก่า  เพื่อสร้างกุฏิ  ๑  หลัง  (กุฏิเบอร์ที่ ๑๕) 
             - คุณประมูล  กุลสานต์  นายกเทศมนตรีดงมะไฟและคุณประวัติ  กุลสานต์ภรรยาพร้อมครอบครัว  มีจิตศรัทธาบริจาค
               สร้างกุฏิอีก ๑ หลัง (กุฏิเบอร์ ๑๖)
             -คุณแม่จรูญศรี  น.ส.พีระพรรณ์  พานิชสวัสดิ์  อ.อุดม  คุณบุญส่ง  เปลื้องทุกข์     เป็นเจ้าภาพสร้างอาคารพักรับรอง
               ฆราวาส ๑ หลัง  (อาคาร  ๒๐๑)
             - นายจันทร์  โสภาพ  และคณะศรัทธาราษฎรบ้านคำข่า  มีความคิดริเริ่มร่วมกันสร้างอาคารพักสำหรับรับรองญาติโยม
ผู้มาแสวงบุญและปฏิบัติธรรม    โดยราษฎรบริจาคไม้ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดตลอดจนอุทิศแรงกายดำเนินการก่อสร้างนับตั้งแต่ฐานราก   โครงสร้าง  ตลอดมุงหลังคาจนแล้วเสร็จ   ต่อจากนั้นจึงได้ว่าจ้างช่างมาดำเนินงานต่อ

             ลักษณะของอาคารรับรองหลังนี้เป็นอาคารสองชั้น  กว้าง ๖ ยาว  ๑๕  เมตร   ชั้นบนเป็นไม้ทั้งหมด  ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน
 มีห้องสุขาทั้ง ๒ ชั้น  จำนวน ๘  ห้อง  หน้าต่างและประตูเป็นไม้สักทั้งหมด  ติดเหล็กดัดและมุ้งลวด  โดยมีผู้ร่วมบริจาคดังนี้ 
              - คุณยายถมยา  พวงน้อย  บริจาคห้องสุขา  ๑  ห้อง
             - น.ส. ระพีพรรณ์  พานิชสวัสดิ์   พร้อมญาติมิตร   จ.พระนครศรีอยุธยา  บริจาคกระเบื้องปูพื้นชั้นล่างของอาคาร
             - ร้านชาญยุทธ  หนองคาย  บริจาคกระเบื้องติดเสาคอนกรีต
             - คุณสุภาพ  ศรีพันธ์  และครอบครัว  กรุงเทพฯ  บริจาคมุ้งลวดประตูหน้าต่าง
             - คุณธานินทร์  พันธ์ประภากิจ  กรุงเทพฯ  บริจาคบานประตูและบานหน้าต่างไม้สักทั้งหมด  ประตูห้องอีก  ๑ บาน
             - ส่วนอื่นๆ  นอกจากนี้ทางวัดดำเนินการ  อาคารหลังนี้เสร็จลงได้ด้วยความสมัครสมานสามัคคี   และความร่วมมือด้วยดีของราษฎรบ้านคำข่า    โดยมีนายแจ้ง  วงศ์พรหม   เป็นผู้นำและมีนายจันทร์ โสภาพ  เป็นผู้ดำเนินงาน 
             -ซ่อมแซมต่อเติมกันสาดบังแดด-ฝน  รอบศาลาการเปรียญทั้ง ๓ ด้าน  โดยใช้เสาคอนกรีต  โครงหลังคาเหล็ก  มุงด้วยกระเบื้องคอนกรีตทั้งหมด
             -คุณสุภาพ  ศรีพันธ์  พร้อมครอบครัว  ศรัทธาบริจาคค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการติดตั้งมุ้งลวดกุฏิสงฆ์  ๑๑ หลัง
             -คุณโสภณ  คุณวรวรรณ  วิชชุเกรียงไกร   เจ้าของและผู้จัดการบริษัทเฮ้งมุ่ยหลี  อิฐ  บปก.จำกัด   ต.บางปลากด 
อ.บ้านโมก  จ.อ่างทอง  บริจาคอิฐ  บปก สำหรับใช้ในการก่อถังเก็บน้ำฉาบปูน  มีขนาดกว้าง  ๒.๕๐  เมตร  สูง  ๓  เมตร 
ยาว  ๗.๕๐  เมตร  บรรจุน้ำได้  ๕๖,๐๐๐  ลิตร

             สรุปค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง  และบูรณะซ่อมแซมจำนวน  ๑๐  รายการ  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๔๔๙,๙๕๑.๒๕  บาท
(สี่แสนสี่หมื่นเก้าพันเก้าร้อยห้าสิบเอ็ดบาทยี่สิบห้าสตางค์)


ระบบไฟฟ้า  ระบบประปา
ระบบไฟฟ้า
   
             ตั้งแต่เริ่มแรกมาก่อสร้างวัดอาจาโรรังสี  ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เพราะการไฟฟ้าขยายเข้ามาไม่ถึง  เมื่อเดือนเมษายน 
พ.ศ. ๒๕๔๑  ผู้มีจิตศรัทธาหลายท่านได้บริจาคทรัพย์  เพื่อขอขยายเขตไฟฟ้าเข้ามาใช้ภายในบริเวณวัดดังนี้
             - คุณโยมมะลิ  ด่านวิรุฬหวณิช  พร้อมบุตรหลาน  มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์เป็นเงิน  ๑๐๐,๐๐๐  บาท
             - นาวาเอกหิรัญ-คุณพยุง  สตานนท์  พร้อมคุณกมล-คุณบุญยวง  ทองเจียม  บริจาคทรัพย์เป็นเงินจำนวน  ๕๐,๐๐๐  บาท
             - คุณวิโรจน์  ชาญอุตสาห์  พร้อมครอบครัว  บริจาคสายเมนแรงต่ำที่ใช้เดินภายในบริเวณวัดทั้งหมด ความยาวประมาณ  ๒,๐๐๐ เมตร
             รวมเป็นเงินที่ได้รับบริจาคเพื่อใช้ในการขยายเขตไฟฟ้าเข้ามาใช้ภายในบริเวณวัด  ๑๕๐,๐๐๐  บาท  และได้ดำเนินการเรียบร้อย  ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑  รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๒๒๘,๒๖๔ บาท  ค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกินจากนั้น  ใช้เงินทุนของทางวัด  และมีผู้บริจาคสมทบ

ระบบน้ำประปา
             ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีพของมนุษย์คือ  น้ำ  ทั้งประโยชน์สำหรับอุโภคและบริโภค การสร้างวัดใหม่แห่งนี้   จำเป็นต้องใช้น้ำค่อนข้างมาก   เพราะอยู่ด้วยกันหลายคนทั้งยังต้องใช้สำหรับงานก่อสร้างด้วย
             - ในเบื้องต้นคุณกิตติ  รุ่งเรืองระยับกุล  พร้อมครอบครัว  มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์  จำนวน  ๒๐,๐๐๐  บาท  เพื่อสร้างถังเก็บน้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๑.๒๐ เมตร  สูง ๓.๖๐ เมตร  จำนวน  ๒ ถัง
             - ก่อนเข้าพรรษาปี  พ.ศ. ๒๕๔๐  คุณอนันตสิทธิ์  ซามาตย์  ผู้ดูแลพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์พร้อมกับเจ้าหน้าที่ 
ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  และราษฎรบ้านขาไก่  อ.กุสุมาลย์  มีจิตศรัทธาสร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่  เส้นผ่าศูนย์กลาง  ๓  เมตร สูง ๓ เมตร  ขนาดบรรจุน้ำได้ถังละ  ๒๑,๐๐๐ ลิตร  จำนวน  ๒  ถัง  ถวายวัดอาจาโรรังสี
             - หน่วยงานต่างๆ  ที่ให้การสนับสนุนเมื่อน้ำฝนขาดแคลน  เช่น  กองควบคุมไฟป่าพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์,กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน  ๒๓  สกลนคร,อำเภอพรรณานิคม, อำเภอวานรนิวาส,เร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดสกลนคร  ให้ความอนุเคราะห์ส่งรถบรรทุกน้ำมาบริการ    ในส่วนของวัดเองก็พยายามที่จะเจาะน้ำบาดาล แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จพอที่จะพึ่งตนเองได้ในระยะนั้น   ต่อมาได้เจาะบ่อบาดาลประสบความสำเร็จ  ได้น้ำสะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ดี   แต่ขัดข้องด้วยวิธีการนำน้ำขึ้นมาใช้เพราะไม่มีไฟฟ้า   ผู้มีจิตศรัทธาทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับการนำน้ำขึ้นมาใช้ไม่ได้  จึงให้ความอนุเคราะห์ช่วยแก้ปัญหาดังนี้

                   ๑   คุณกิตติ   รุ่งเรืองระยับกุล   จึงจัดหาเครื่องสูบน้ำจากบ่อบาดาลโดยใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง   สูบน้ำขึ้นมาใส่ถังเก็บน้ำฝนที่ว่างอยู่  แล้วจ่ายไปตามกุฏิพระและสถานที่ที่จำเป็นต้องใช้น้ำ  เช่น   ศาลาและห้องสุขา   การแก้ไขปัญหาในส่วนนี้
ได้สำเร็จภายในปี พ.ศ ๒๕๔๑
                   ๒   คุณอนันตสิทธิ์   ซามาตย์  ผู้ดูแลพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์  พร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่  ร่วมกับกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  ได้สร้างถังเก็บน้ำ  (แบบเดิมที่เคยสร้างถวาย)  ถวายอีก ๑ ชุด  จำนวน ๒ ถัง  บรรจุน้ำได้  ๔๒,๐๐๐  ลิตร  นับว่าทำให้ระบบน้ำใช้น้ำบริโภค  สะดวกขึ้นอีกมากในปี พ.ศ. ๒๕๔๑
                   เมื่อทางวัดมีระบบไฟฟ้าที่สมบูรณ์แล้ว  ในปลายปี พ.ศ.๒๕๔๒  คุณบุญมา  ไพรวัฒนานุพันธ์พร้อมครอบครัว  
ได้มาเห็นวัดอาจาโรรังสีพัฒนาขึ้นมากและบังเกิดความศรัทธาปรารภจะจัดสร้างระบบประปา  โดยจัดตั้งกองผ้าป่าสามัคคี 
ซึ่งมีคุณแม่เซียะเตียง  แซ่ลิ้ม  เป็นประธาน  พร้อมบุตรหลานญาติมิตร  จาก อ.บางปะกง  จ.ฉะเชิงเทรา  ร่วมกับคณะศรัทธาจากกรุงเทพมหานคร  เพื่อสร้างถังจ่ายน้ำประปา  ขนาดบรรจุ  ๒๐,๐๐๐   ลิตร  ความสูง ๒๐  เมตร   ดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๒  สิ้นค่าใช้จ่าย  ๑๘๓,๔๘๒ บาท  คณะผ้าป่าชุดนี้นำมาทอดถวายเมื่อ วันที่ ๒๐  ก.พ. ๒๕๔๓ 
ได้ปัจจัยเป็นจำนวนเงิน  ๓๒๐,๐๐๐ บาท   ส่วนที่เหลือจากการจัดระบบประปาครั้งนี้  ได้นำมาใช้ในการพัฒนาวัด
                   นอกจากนี้ในปี  พ.ศ ๒๕๔๒   ทางราชการได้ให้การสนับสนุนโดยใช้งบประมาณของแผ่นดินมาสร้างสรรค์พัฒนาวัดอาจาโรรังสีดังนี้
                   -  กรมทรัพยากรธรณี  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ  ขุดเจาะบ่อบาดาล  ขนาดกว้าง ๖ นิ้ว  ความลึกประมาณ  ๕๐  เมตร  พร้อมอุปกรณ์และเครื่องสูบน้ำ  ๑  ชุด
                   -  สำนักงานสาธารณสุข   จังหวัดสกลนคร   กระทรวงสาธารณสุข   สร้างถังเก็บน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๒ เมตร  สูง  ๓.๖๐  เมตร  ๑  ชุด  จำนวน  ๙  ถัง  พร้อมหลังคาคลุมเพื่อรองรับน้ำฝน
  
กำแพงวัด
                   เริ่มก่อสร้างกำแพงวัด  ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๑  ตามลำดับ ดังนี้
                   ทิศใต้  ด้านติดถนน  รพช มีความยาว  ๒๓๘  เมตร  ทิศตะวันออกมีความยาว ๕๙  เมตร รวมความยาว ๒๙๗  เมตร
ก่อด้วยอิฐ  บปก.บริจาคโดยคุณโสภณ-คุณวรวรรณ  วิชชุเกรียงไกร  เจ้าของและผู้จัดการบริษัท  เฮ้งมุ่ยหลี อิฐ บปก. จำกัด 
ต.บางปลากด  อ.ป่าโมก  จ.อ่างทอง  ก่อสร้างทั้งหมด
                   ทิศเหนือ   มีความยาว  ๑๔๓  เมตร  ทิศตะวันออกด้านใน  มีความยาว  ๑๑๑  เมตร  รวมความยาว  ๒๕๔  เมตร 
ก่อด้วยอิฐซีเมนต์บล๊อค  ฉาบปูน   บริจาคโดย   คุณชาลี   จึงรุ่งอรุโณทัย  เจ้าของและผู้จัดการโรงงานผลิตอิฐซีเมนต์บล๊อค 
อ.บางปะหัน  จ.พระนครศรีอยุธยา
                   ท่อซีเมนต์ที่ใช้หล่อทำเสากำแพงทั้งหมด  จำนวน  ๓๐๐  ท่อน  บริจาคโดยศรัทธาของคุณแสวง   ศิริจันทโรภาส   พร้อมครอบครัว  จ.อุดรธานี
                   รวมความยาวของกำแพงที่ทำไปแล้วทั้งสิ้น  ๕๕๑ เมตร  สิ้นเงิน  ๓๕๖,๒๔๐.๐๐
                   อนึ่ง  อิฐ  บปก ที่บริจาคโดยคุณโสภณ   คุณวรวรรณ  วิชชุเกรียงไกร  และอิฐซีเมนต์บล๊อคที่บริจาคโดย
คุณชาลี  จึงรุ่งอรุโณทัย   นอกจากจะใช้สำหรับก่อกำแพงดังกล่าวแล้ว   ยังได้ใช้ในการก่อสร้างส่วนอื่นตามสมควรอีก 
เช่น  กุฏิ  ห้องสุขา  ถังเก็บน้ำ  และอื่นๆ  ที่เหมาะสมตามความจำเป็นอีกด้วย

การสร้างถนนลาดยาง
                     เส้นทางสัญจรจากหมู่บ้านสู่วัดอาจาโรรังสี  สามารถเข้า-ออกได้สองทางคือ  ทิศเหนือเส้นทางบ้านไร่-บ้านคำข่า  และทิศใต้   เส้นทางบ้านคำข่า-บ้านโนนอุดม  เมื่อแรกเริ่มสร้างวัด   ได้ตัดถนนดิน    จากสองเส้นทางนั้นผ่านเข้ามาในบริเวณวัด   ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นถนนลูกรัง    ครั้นถึงปลายปี  พ.ศ. ๒๕๔๓   หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่  ๒๖  สำนักงานภาค  ๒  หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา  กองบัญชาการทหารสูงสุด  ได้มีศรัทธา  ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าวเป็นถนนลาดยาง  ผิวถนนกว้าง 
๕.๐  เมตร  ความยาว  ๐.๖๓๕  กม ทั้งยังได้ขยายเส้นทางเข้ามาภายในเขตสังฆาวาส  เพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษอีกประมาณ  ๐.๓๐๐  กม. ด้วย  จึงขอขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลศรัทธาของ  พ.อ. อัธยา  สุคนธสิงห์  ผู้บังคับหน่วย  และนายทหาร
ตลอดจนเจ้าหน้าที่กำลังพลทุกๆ ท่าน ที่ช่วยสร้างเส้นทางธรรม   ยังประโยชน์แก่ผู้มีกุศลศรัทธา  แสวงหาความดีงามใน
บวรพุทธศาสนา ณ วัดอาจาโรรังสี นับว่าสร้างความสะดวกสบายแก่ภิกษุสามเณร ผู้อยู่จำพรรษาตลอดจนสาธุชนทั้งปวง
                   เคยมีเทวดาผู้สัมมาทิฏฐิ  กราบทูลถามพระบรมศาสดาว่า  บุคคลควรประพฤติตนเช่นไรจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งมั่น
อยู่ในความดี  มีบุญอยู่ทุกเมื่อ  และบุคคลควรประพฤติตนอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่ในธรรม  มีสุคติภูมิคือสวรรค์เป็นที่หมาย   ทรงมีพุทธฎีกาตรัสตอบปัญหานั้นว่า   บุคคลผู้สร้างสาธารณกุศลสถาน  เพื่อประโยชน์แก่   ชนหมู่มาก  เช่น  สร้างอาราม 
ปลูกหมู่ไม้ให้ร่มเงาแก่คนเดินทางได้พักอาศัย  สร้างสะพาน  สร้างถนนเพื่อการสัญจร  ขุดบ่อน้ำ  สร้างถังน้ำประปา  เพื่อมหาชนได้ใช้สอยบริโภค  สร้างที่พักอาศัยให้แก่ผู้มีศีล  ผู้ปฏิบัติธรรม  ตลอดจนคนเดินทาง  บุคคลเหล่านั้นย่อมได้รับกุศลผลบุญเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลทุกเมื่อ  ทั้งกลางวันและกลางคืน  บุคคลผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม  คือคุณความดี  มีศีลสมบูรณ์  ย่อมเป็นผู้มีสุคติภูมิ  คือสวรรค์สมบัติ  เป็นที่หมาย
                   ที่กล่าวมาโดยสังเขปนั้น  ก็ด้วยสำนึกในบุญคุณพระพุทธศาสนา  พ่อแม่  ครูบาอาจารย์  ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ 
มีพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี    เป็นต้น   บรรดาฆราวาสญาติโยมพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่มีจิตใจเลื่อมใสศรัทธา  
จึงพากันให้ความอุปการะ   ภิกษุสามเณร  วัดอาจาโรรังสี   แห่งนี้   นับเป็นอุปการะคุณที่มากด้วยคุณค่าอย่างยิ่งที่ทุกท่านทุกคน
ผู้เข้ามาพำนักปฏิบัติธรรมในสำนักนี้พึงตระหนักและตั้งใจกระทำคุณงามความดี  มีการสำรวมกายให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลสิกขาบทวินัยอย่างเคร่งครัด  ขยันหมั่นเพียรอบรมฝึกหัดปฏิบัติสมาธิภาวนาเป็นนิตย์  ให้จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว  จนเกิดปัญญารอบรู้ทั้งภายนอกภายในตามสมควรแก่อุปนิสัยวาสนาของตน  แล้วตั้งจิตอุทิศผลแห่งคุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกตเวทิตาคุณตอบแทนท่านผู้มีอุปการะทั้งหลายทั้งที่ได้กล่าวนามและมิสามารถกล่าวนามได้   ขอจงสำเร็จสมประสงค์ในสิ่งที่จำนงหมายโดยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ

หอสวดมนต์ และหอระฆัง       
                    เมื่อต้นปี พ.ศ ๒๕๔๒  โยมบุญชม  ปิติสม   พร้อมคุณบุญส่ง  เปลื้องทุกข์  (บุตรสาว) ชาว  ต.ตาลาน  อ.ผักไห่ 
จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มีศรัทธาถวายโครงสร้างยุ้งข้าวทรงไทยภาคกลางขนาดกว้าง๔   เมตร x ยาว  ๖ เมตร  อายุประมาณ  ๑๐๑  ปี  เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คุณตาชื่น ทองธานี (บิดาของโยมบุญชม)  และญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาอาจารย์อุดม เปลื้องทุกข์ พร้อมญาติพี่น้องก็พร้อมใจกันถวายโครงสร้างยุ้งข้าวทรงไทยขนาดเดียวกัน  ซึ่งมีอายุประมาณ  ๙๐  ปีเศษ  อีก  ๑  หลัง  เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คุณพ่อสมบุญ-คุณแม่ชั้น  เปลื้องทุกข์  ชาวตำบลลาดชิด  อ.ผักไห่   ผู้ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน   โครงสร้าง
ดังกล่าวทั้งสองหลังโครงหลังคาทำด้วยไม้สักอยู่ในสภาพดี  ยกเว้นบางส่วนที่ถูกแดด-ฝน  ได้ชำรุดเสียหายไปบ้าง  หน้าบัน
ของอาคารหลังแรกอยู่ในสภาพใช้การได้   ซ่อมแซมเล็กน้อย   ส่วนอีกหลังต้องทำใหม่  ปั้นลมได้ให้ช่างทำใหม่หมดทั้งสองหลัง  หลังแรกเสาเรือนส่วนบนปรับปรุงใช้ได้บ้างแต่ไม่มีไม้พื้น   อีกหลังหนึ่งเสาชำรุดทั้งหมดแต่พื้นไม้ตะแบกอยู่ในสภาพดี
จึงได้ยกโครงสร้างอาคารทั้งสองหลังตั้งคู่กัน  (หลังแรกอยู่ด้านหน้าทิศตะวันออก)   เป็นอาคารสูงสองชั้น  โครงสร้างชั้นล่าง
เป็นคอนกรีตทั้งหมดต่อระเบียงออกโดยรอบทั้ง  ๔  ทิศ  อีกด้านละ  ๓  เมตร   จึงปรากฏเป็นอาคารทรงไทยคู่พร้อมระเบียงรอบ  ขนาดกว้าง  ๑๒  เมตร x ยาว ๑๕  เมตร  ฝาผนังก่ออิฐฉาบปูน  ติดหน้าต่าง พร้อมมุ้งลวดและเหล็กดัดโดยรอบทั้ง ๔  ด้านทั้ง
สองชั้น  ชั้นล่างก่อเอวขัณฑ์ บัวคว่ำบัวหงาย  ชั้นบนพื้นไม้  ชั้นล่างพื้นคอนกรีตปูกระเบื้องเซรามิค พดานชั้นบนทำด้วยไม้เพดานชั้นล่างทำด้วยแผ่นยิบซั่ม
                   ชั้นบนมีฐานชุกชีทำด้วยไม้  ประดิษฐานพระประธาน ๓ องค์
                   องค์กลาง  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  เกศดอกบัว หน้าตักกว้าง  ๑๙ นิ้ว  
                   ถวายโดยคุณจรูญ-คุณดวงพร  ทรายสุวรรณ  จังหวัดชลบุรี
                   ขวามือ  ของพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  เกศเปลวเพลิง  หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว  
                   ถวายโดยคุณสมบุญ-คุณสวัสดิ์  ภูขาว  จังหวัดสิงห์บุรี
                   ด้านซ้าย  เป็นพระพุทธชินราชจำลอง  หน้าตักกว้าง  ๕๙  นิ้ว  
                   บุตรหลานสร้างอุทิศให้แก่คุณพ่อผาด-คุณแม่สมพร  พิณฑสันต์  กรุงเทพฯ
                   ฐานชุกชีพระประธานดังกล่าวสร้างถวายโดยร้านแดงแหนมเมือง   จังหวัดหนองคาย   ทั้งได้ออกค่าแรงช่างสร้างตู้พระไตรปิฎก  ๑ หลัง  โดยใช้ไม้สักของนายจอน-นางสุมา   ลือแสน   (ได้ถวายให้จำนวน  ๒  ต้น)  ส่วนหนังสือพระไตรปิฎก
ฉบับสมบูรณ์สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์  ๒๐๐  ปี  จำนวน ๑  ชุด  (มี  ๙๑  เล่ม)   พร้อมตู้อีก  ๑  ใบนั้น  อ.สรสิทธิ์  อ.โลมเพ็ญ 
อ.นิรัตน์  น.ส.บุญเจริญ  น.ส.จินตนา กวานดา  พร้อมญาติมิตรจัดมาถวาย  พระไตรปิฎกดังกล่าวประดิษฐานอยู่ชั้นบนของ
หอสวดมนต์   ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับไหว้พระสวดมนต์   ปฏิบัติภาวนา   และทำวินัยกรรมบางอย่าง เช่น  สวดพระปาติโมกข์ 
พื้นที่ชั้นล่างเป็นที่รวบรวมหนังสือพระธรรมเทศนา  และสารคดีที่มีคุณค่าเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้า
                   ต่อมาได้ดำเนินการก่อสร้างหอระฆังด้านทิศตะวันออก (ด้านหน้า)  ของอาคารหอสวดมนต์ทำบันไดขึ้นร่วมกัน 
เป็นอาคารทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก  ขนาด  กว้าง x ยาว x สูง = ๒.๕๐ เมตรx  ๒.๕๐ เมตร x ๙ เมตร     ติดตั้งช่อฟ้า
ใบระกา   หางหงษ์   คันทวย   ทำด้วยปูนปั้นทั้งหมดหน้าบันทั้ง  ๒  ด้านปั้นปูนลวดลายใบเทศล้อมรอบเทพนม  ชั้นบนแขวนระฆัง  ชั้นล่างแขวนโปง  (เครื่องตีบอกยามของชาวอีสาน)
                   การก่อสร้างหอสวดมนต์และหอระฆัง  สิ้นเงินจำนวน  ๗๐๔,๒๙๕  บาท  ทั้งนี้ไม่รวมมูลค่าวัสดุที่ได้รับบริจาค  
เช่น  เหล็กเส้นที่ใช้ในการก่อสร้างหอระฆังรวมทั้งบันไดคอนกรีตขึ้นหอระฆังและหอสวดมนต์   ตลอดจนเหล็กที่ใช้ในการเทพื้นคอนกรีตชั้นล่าง   (บางส่วน)   เป็นศรัทธาของคุณเลี้ยง  วิศวธีรานนท์  กรุงเทพฯ  อิฐที่ใช้ก่อสร้างทั้งหมดเป็นของ
คุณโสภณ-คุณวรวรรณ  วิชชุเกรียงไกร  กระเบื้องเคลือบดินเผามุงหลังคาหอระฆังและลูกกรงเซรามิค   
ถวายโดย  คุณธเนตร-คุณกิมเตียว  เอียสกุล  จ.หนองคาย  คุณวิจิตร  มโนชัย   และ น.ส. เฉลิมพร  วภักดิ์เพชร  บ้านดงมะไฟ 
ต.ขมิ้น  ถวายไม้ตะเคียนทองใหญ่  ๑  ต้น   เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่คุณตาขาน-คุณยายหม้อ  วภักดิ์เพชร  ซึ่งได้นำมาแปรรูป
ทำพื้นหอสวดมนต์และอื่นๆ  ไม้โครงหลังคาและไม้พื้นส่วนเพิ่มเติม 
              นอกจากนั้นทั้งหมดเป็นของราษฎรบ้านคำข่า  และหมู่บ้านใกล้เคียงพร้อมใจกันจัดหามาให้สร้างจนพอเพียง  ต้องขออภัยที่ไม่สามารถออกนามท่านทั้งหลายได้หมด  แต่คุณความดี  บุญกุศลนั้นได้จารึกไว้ในดวงจิตของท่านทั้งหลายอย่างเต็มภูมิแล้ว  สีทองสำหรับทาลวดลายเป็นของคุณแม่มะลิ  และคุณศิริ  ด่านวิรุฬ  หวณิช   กรุงเทพฯ   คุณชาญยุทธ-คุณเพ็ชรกิม  ตั้งชูพงศ์  ร้านชาญยุทธ  จ.หนองคาย  สร้างระฆังถวายพร้อมน้ำมันทาไม้เพดานภายในอาคารหอสวดมนต์ชั้นบน  ทั้งยังเป็นธุระติดต่อกับบริษัท  โสสุโก้  ประเทศไทย  จำกัด  จัดจำหน่ายกระเบื้องเซรามิคสำหรับปูพื้นหอสวดมนต์   และหอระฆังทั้งหมดให้แก่ทางวัดในราคาพิเศษอีกด้วย     ส่วนน้ำมันทาไม้เพดานรอบนอกอาคารเป็นของร้านไพฑูรย์  พาณิชย์   ตลาดผักไห่  จ.พระนครศรีอยุธยา
นายช่างปิยรส  นิจจะ   ร่วมกับราษฎรบ้านผักคำภู  หมู่ ๖,   ๙  และ  ๑๑   ต.นาใน  อ.พรรณานิคม  จัดสร้างโปงมาถวาย
                   มุ้งลวด   บานหน้าต่างทั้งหมดพร้อมหน้าต่างบานเกร็ดกระจกอีก  ๑๑  ชุด  เป็นศรัทธาของคณะศิษย์  อ.อมร  รัตนะนาคินทร์  กรุงเทพฯ  นำโดยคุณกิตติ-คุณแสงเพ็ญ  รุ่งเรืองระยับกุล  และคุณสุภาพ-คุณนภาพร  ศรีพันธ์   พัดลมติดตั้งหอสวดมนต์ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง  เป็นของคณะศรัทธาชาวจังหวัดสกลนคร   นำโดยคุณป้ายวนใจ  พูลสวัสดิ์
                    อนึ่ง  นับแต่ปี พ.ศ ๒๕๔๑  อ.อุดม-คุณบุญส่ง  เปลื้องทุกข์  สองสามี  ภรรยา  ได้ชักชวน  ญาติมิตรมาทำบุญที่วัดอาจาโรรังสีทุกปีเสมอมา  และในการฉลองหอสวดมนต์และหอระฆัง  ซึ่งทางวัดกำหนดขึ้นในวันที่    ๒๑-๒๒  เมษายน  ๒๕๔๔ 
นี้ยังได้ปวารณาปัจจัยเพื่อร่วมการดังกล่าวอีก๑๐,๐๐๐  บาทด้วย
                   การดังกล่าวสำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อย   ก็เพราะอำนาจแห่งกุศลเจตนาของคณะศรัทธาทั้งหลาย   ที่มั่นคงและซื่อตรงต่อ  พระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์    ทั้งที่ออกนามก็ดี   และไม่สามารถออกนามได้ทั่วถึงก็ดี   ต้องขออภัยไว้  ณ  ที่นี้อีกครั้ง  ขออานิสงส์แห่งคุณงามความดีทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสำเร็จประโยชน์แก่สาธุชนทั้งหลาย  มีคุณตาชื่น  ทองธานี  และญาติผู้ล่วงลับ  คุณพ่อสมบุญ-คุณแม่ชั้น  เปลื้องทุกข์  และญาติผู้ล่วงลับ   ผู้เป็นปฐมเหตุแห่งการสร้างหอสวดมนต์และหอระฆังนี้   จงเสวยสุคติในสัมปรายิกภพที่ได้อุบัติแล้วนั้นๆ  สมปรารถนาทุกประการ  ทั้งขอให้ท่านทั้งหลายที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งนี้
จงประสบแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลด้วยจตุรพิธพรชัยโดยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกเมื่อเทอญฯ


             

     

สถิติวันนี้

 51 คน

สถิติทั้งหมด

138611 คน

เริ่มเมื่อ 2011-12-10


วัดอาจาโรรังสี บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐ โทร. ๐-๔๒๙๘-๑๐๘๗